ไปพูดเรื่อง KM

ตื่นเต๊ลลชะมัด
เรื่องมีอยู่ว๊า… บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร เชิญอิฉันให้ไปเล่าสู่กันฟังเรื่อง KM ตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ วันตรุษจีนพอดี๊พอดี ให้กับนักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาสารสนเทศศาสตร์เพื่อการศึกษา สาขาสารสนเทศศาสตร์เพื่อการศึกษา เป็นหลักศาสตร์ที่บูรณาการระหว่าง 3 คณะวิชาคือคณะวิทยาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ และคณะอักษรศาสตร์
เนื้อหาของหลักสูตรประกอบด้วยเนื้อหาวิชาสนเทศศาสตร์เพื่อการศึกษา ประกอบด้วย ความรู้ทางด้านสารสนเทศศาสตร์ เทคโนโลยีการศึกษา และคอมพิวเตอร์ และวิชาการจัดการความรู้เป็นวิชาหนึ่งที่อยู่ในหลักสูตร
มีชื่อเก๋ๆ ในภาษาอังกฤษว่า Informatics ไปควานหาแล้วสรุปว่าเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสารสนเทศ (information) และการคำนวณเพื่อคาดการณ์ในอนาคต เป็นคำที่ฟากทางยุโรปนำมาใช้แทนคำ computer sciences ที่แปลว่า วิทยาการคอมพิวเตอร์
ตอนเปิดใหม่ๆ น้องอ้อในฐานะศิษย์เก่ามาเล่าให้ฟัง เลยเข้าไปดูแล้วพบว่าหลักสูตรแล้วน่าสนใจเชียร์น้องๆ ให้ไปเรียนกัน เพราะจะทำให้เรามองอะไรในมุมกว้าง รวมทั้งมีเพื่อนที่มาหลายๆสาขา ซึ่งการทำงานหรือความเข้าใจแบบข้ามสายงานมีความจำเป็นมากในยุคปัจจุบัน
ส่วนเรื่องที่ไปพูดนั้นอาจารย์ท่านบอกว่าอยากให้เล่าประสบการณ์ที่ลงมือทำมาอย่างยาวนาน (คำหลังนี้เติมเอาเอง) ……………..
ก่อนที่จะทำสไลด์ได้อ่านงานวิจัยพวกนี้และคิดว่าน่าจะหมดห้องสมุด อ่านทีไรนึกถึงที่คุณหมอวิจารณ์ พานิช ท่านบอกว่า KM เป็นเรื่องที่ลงมือทำ อ่านไปอ่านมาเริ่มสงสัยว่าคนที่ทำงานวิจัยเรื่องพวกนี้ทำหรือมีส่วนร่วมกับ KM มากน้อยแค่ไหน เรื่องนี้อยากรู้จริงๆ เพราะอยากคุยด้วยว่าในสถานการณ์จริงเป็นอยางไร มันดี หรือมีปัญหาตรงไหน?
อ่านไปอ่านมาพบว่าบทที่ 2 จะหนาปึ๊กที่บรรจุทฤษฎีไว้มากมาย ตอนบรรยายอิฉันได้เอ่ยชื่อเจ้าของทฤษฎีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ นักศึกษาขำๆ แล้วยังช่วยกันต่อเป็นที่สนุกสนาน มีคนบอกว่าไม่กลัวห้องสมุดถล่มกันบ้างหรือไร เขียนบทที่ 2 เยอะๆ เนี่ย
ไม่รู้ว่าหากเขียนแบบสังเคราะห์ร้อยเรียงเพื่อดึงส่วนที่นำมาใช้จริง มาสนับสนุนงานวิจัยจะทำได้มั็ย หรือจำเป็นต้องใช้แบบเดิมที่นำมาต่อๆ กันในปริมาณที่มหาศาล เราคงได้แค่คิดและบอกความรู้สึกไป ที่เหลือนอกจากนี้คงไม่ใช่หน้าที่ของเรากระมัง? นึกถึงอาจารย์ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่เราได้มีโอกาสสนทนาด้วยท่านแนะนำมา ขอบคุณโลกที่ให้เราพบกันท่านผู้รู้ตลอดเวลาของการใช้ชีวิต
เด็กในโครงการ Work and Travel เล่าให้ฟังว่าเพื่อนไปแล้วไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และหนูสงสัยมา (มัน) มีชีวิตรอดมาได้อย่างไรถึงยี่สิบปี? อ่ะนะฟังแล้วขำแต่สะท้านใจพิลึก!
ทำสไลด์ไปก็คิดไปเรื่อยๆ
เรื่อง KM หากไม่ลงมือทำกัน ก็คงไม่ต่างกับที่เราต้องไปขุดค้นหาภูมิปัญญาที่นับวันจะหายไปๆ
เรื่อง KM หากไม่ลงมือทำกัน ก็คงไม่ต่างกับที่เราต้องนับหนึ่งทุกครั้งเวลาเราจะทำอะไร
เรื่อง KM หากไม่ลงมือทำกัน ก็คงไม่ต่างกับที่เรามีความคิดว่าคนที่อยู่ช่างไม่ได้เรื่องเลย
เรื่อง KM หากไม่ลงมือทำกัน ก็คงไม่ต่างกับที่เรามองไม่เห็นความสวยงามของดอกหญ้าข้างทาง
เรื่อง KM หากไม่ลงมือทำกัน ก็คงไม่ต่างกับที่เราหาอะไรไม่พบในกูเกิ้ล
เรื่อง KM หากไม่ลงมือทำกัน ก็คงไม่ต่างกับทีเราคิดว่าเราทำแล้วหรือเราด๊แล้ว
เรื่อง KM หากไม่ลงมือทำกัน ก็คงไม่ต่างกับทีเราไม่เคยสมมุติว่าเป็นเขา
เรื่อง KM หากไม่ลงมือทำกัน ก็คงไม่ต่างกับทีเราไม่รูัจักคำว่า RESPECT
ฯลฯ
บอกนักศึกษาไปว่าทฤษฎีของ KM มีมากมาย เป็นนักศึกษาก็ต้องรู้จักตั้งโจทย์เพื่อพิสูจน์หรือหาเครื่องมือมาจัดการ โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้ตะล่อม ขณะที่คนทำงานมีวัฒนธรรมองค์กร มีพี่ มีน้อง มีวิธีการ มีกฎ มีกติกา มีมารยาท เอาไว้ให้อยู่ร่วมกัน
มีทฤษฎีของ KM ที่อาจารย์หมอวิจารณ์ พานิช เขียนไว้น่าสนใจคือ http://www.gotoknow.org/posts/28817
“ทฤษฎีขนมเปียกปูน” ช่วยเตือนเราว่า ต้องอย่าทำ KM แบบ “ขนมชั้น” คือต้องให้ KM เนียนอยู่ในเนื้องาน อย่าให้แยกออกเป็นอีกส่วนหนึ่งจากเนื้องาน
• คำอื่นๆ ที่มีความหมายเดียวกัน คือ บูรณาการ (integration), องค์รวม (holistic)
• KM ที่ดีที่สุด ผู้ทำ KM จะไม่รู้สึกตัวว่าตนเองกำลังทำ KM ไม่รู้สึกว่ากำลังมีภาระเพิ่ม แต่รู้สึกสนุกสนานและมีความสุขกับกระบวนการที่ร่วมกันทำ และมีความสุข ความปิติ จากผลของกระบวนการและกิจกรรมนั้น
• ดังนั้นสุดยอดของ KM คือ “ไม่ทำ KM” เพราะ KM ได้เข้าไปเนียนอยู่ในเนื้องานแล้ว เป็น km inside
• กล่าวอีกนัยหนึ่ง ต้องทำ KM แบบ “ไม่ทำ KM”
• ที่สำคัญ ส่วนผสมของขนมเปียกปูนต้องมีเครื่องมือพัฒนางาน พัฒนาองค์กร พัฒนาคน อีกหลายขนาน เป็นส่วนผสม ไม่ใช่มี KM เพียงอย่างเดียว
• ส่วนผสมของ “ขนมเปียกปูน” จะมีอะไรบ้างนั้น ไม่มีสูตรตายตัว แต่ละองค์กรต้องทดลองผสมเอาเองจากการปฏิบัติ ไม่มีสูตรสำเร็จ
…………………..
เอวังพูดไป 3 ชั่วโมงเต็มแบบไม่ติดขัดแถมเวลาเกือบไม่พอ ตอนจบนักศึกษาเดินมาถามว่าผมอยากทำวิทยานิพนธ์เรื่องโน้นเรื่องนี้ ทำได้มั้ยแล้วจะมีเครื่องมืออะไรบ้าง
แหม่ …. นึกว่าจะไม่รอด!

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร