การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ประชาคมอาเซียนและระดับสากล

จากการเข้าร่วมประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ ครั้งที่ 3 เรื่อง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งบรรยาย โดย ท่าน ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน เมื่อวันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2555 ซึ่งเนื้อหาการบรรยาย ให้ความสำคัญกับ การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์การเรียนรู้ เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับสากล ซึ่งประเด็นสำคัญ คือ ภารกิจสำคัญของอาเซียนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อีกทั้ง ภารกิจอันสำคัญของประเทศไทย ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ประชาคมอาเซียน
อันเป็นประเด็นที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งปัญหา คือ จะพัฒนาคนไทยอย่างไรให้ ยั่งยืน (Sustainable) และพัฒนาต่อไปให้ เป็นกรอบบนเวทีสันติภาพให้ภูมิภาคนี้
1.การพัฒนาผู้นำให้เป็น ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ( Agent of Chang)
2. การปรับโครงสร้างของประเทศ ให้เป็น Intellectual property
3. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อพัฒนาอาเซียน
ซึ่งนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีส่วนช่วยประครอง Structure ที่เป็น Intellectual property นี้ไว้ โดยมี เคล็ดลับและ วิธีการพัฒนา คือ การพัฒนาคน ซึ่งจะเห็นได้ว่า โลกทุกวันนี้อยู่อย่างประสานและบูรณาการ จนแยกออกจากกันไม่ได้ซึ่งทุกอย่างต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายด้าน ภาษาอาเซียน สังคม วัฒนธรรม สันติภาพ ความปลอดภัย ซึ่งทุกอย่างต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจกับ “คน” สำคัญ คือ ถ้าคนเราไม่มีความตระหนักรู้ ซึ่งทุกอย่างอยู่ในมือของ คน มนุษย์เป็นผู้ก่อให้เกิดการทำลายโลก ฉะนั้นต้องพัฒนามนุษย์ให้มี Moral Ethic standing Awareness และยอมรับความแตกต่างในความหลากหลาย
แนวทางการแสวงหาแนวทางการแก้ไข คือ การเตรียมคนเพื่ออนาคต เสาหลักในประชาคมอาเซียน ที่สำคัญคือ เสาหลักด้าน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community- ASCC) ซึ่งมีสาระสำคัญคือ การให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิด สังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม เพื่อสร้างอัตลักษณ์ (Identify)
ซึ่งนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องสร้างความเข้าใจในประเด็นดังกล่าวให้เพื่อให้เกิดความตระหนักรู้ และเกิดความเข้าใจ นี้คือ ข้อวิตกกังวลของประชาคมอาเซียน สำหรับประเด็นปัญหา หรือข้อวิตกกังวลของประเทศไทยระเทศไทยคือ การก้าวขึ้นสู่เวทีประชาคมอาเซียนแล้วสู่เขาไม่ได้ นั่นคือ การพัฒนาคนไปสู่ระดับสากลในยุคของโลกาภิวัตน์ ที่ให้ความสำคัญกับดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจ คือ ต้องพัฒนาคนให้เกิด
1. Mind set ต้องปรับเพื่อพร้อมออกไปสู่ระดับสากล
2. ความสามารถของคนต้อง Excellent เพื่อให้เกิด The Best
ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้นั้น เป็นหน้าที่ของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทำอย่างไรให้ได้ The Best คือ ต้องดึง Potential สูงสุดออกมา จึงจะทำให้มีมือสำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ความสำเร็จของสังคม องค์กร อยู่ที่ การออกแบบ (Design Structure) โดยดึง Potential ของคนออกมา
 ทุกคนเกิดมามี Potential แต่นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องดึงออกมาให้ได้ ไม่มีใครดีกว่าใคร อยู่ที่ การศึกษา การฝึกอบรม โอกาส ประชาชนทุกคนสิทธิและหน้าที่ตามหลักฐาน เอกสาร ทุกคนถูกสร้างขึ้นมาโดยพระเจ้าอย่างเท่าเทียมกัน ทุกคนมีสิทธิ หน้าที่ เท่าเทียมกัน อยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน
วิญญาณของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือ ทุกคนต้องทำได้ นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องเป็นผู้เริ่มต้น ทำให้ทุกคนบรรลุศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ 100 เปอร์เซ็น
ข้อคิดที่ได้จากการบรรยายของท่าน ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการประชาคมอาเซียน คือ ทุกอย่างที่เราคิดอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้มาซึ่ง โอกาส และ ความเป็นเลิศ ซึ่งทั้งหมดอาจเกิดความผิดพลาดได้ ล่มสลายได้ นี้ คือ สัจธรรม
นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องพร้อมที่จะเผชิญวิกฤต และสามารถบริการจัดการวิกฤตการณ์นั้น ๆ ได้ ดังนั้น นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องตระหนักถึงปัญหา ต้องเป็นผู้คอยเสาะแสวงหา การทำให้เกิดการล้มทั้งระบบ ตามทฤษฎีของ KASK คือ ความวุ่นวายเกิดขึ้นได้ โดยไม่มีใครกำหนดไว้ เกิดความสำเร็จก็เกิดขึ้นได้ แต่ก็สามารถล้มได้ เพราะจุดพกพร่องหรือปัญหาเล็ก ๆ
องค์กรยัง Complex ยิ่งเสี่ยงต่อภาวะวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่ระวัง เพราะถ้าห่วงโซ่ที่อ่อนแอเพียงจุดใดจุดหนึ่งอาจส่งผลให้ ทั้งระบบจะพังทลายลงได้ ซึ่ง ตรงกับทฤษฎี Butterfly win effect คือ เมื่อเกิดปัญหาเพียงจุดเดียวสามารถส่งผลกระทบต่อองค์กรทั้งระบบ ดังนั้น โลกนั้นประสานและบรูณาการกัน โดยไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เปรียบเหมือนห่วงโซ่อ่อนแอเพียงจุดใดจุดหนึ่งก็จะส่งผลกระทบทำให้ล้มทั้งระบบ หรือ องค์กรพังทั้งระบบเพราะจุดที่บกพร่องเพียงนิดเดียว ดังนั้นนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ไม่ควรมองข้ามในจุดที่คิดว่าเป็นเพียงจุดเล็กไม่ได้มีความสำคัญ เพราะจุดเล็ก ๆ นั้นอาจส่งผลกระทบและสร้างความเสียงหายให้กับองค์กรได้

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร