จาก Blog สู่ Blook ขั้นแรก

26 May 2009
Posted by Somkieat Chatchuenyod

Bog Bog เอ่ย Blog ที่เราเขียนนำเสนอเรื่องราวกันอยู่นี้ มีความสัมพันธ์กับ RSS Feed (อาร์ เอส เอส ฟีด) ซึ่งเป็นการส่งข่าวสารให้กับผู้อ่านโดยผู้อ่านแค่มีและเปิดเครื่องรับที่เรียกว่า Feed Reader (ฟีดรีดเดอร์) ผู้อ่านก็จะได้รับและอ่านข้อมูลข่าวสาส์นทุกวัน  โดยทางฝั่งที่ปล่อยข่าวสาส์นออกมาสามารถกำหนดได้ว่าจะปล่อยข่าวสารออกมาบ่อยต่อวัน ต่อชั่วโมงแค่ไหนและครั้งละเท่าไหร่ และเมื่อผู้อ่านได้รับข้อมูลข่าวสารแล้วก็สามารถที่จะเปิดอ่านเนื้อหาเต็มตามหัวข้อต่างๆจาก RSS Reader หรืออาจจะนำมาแสดงในรูปของ Blog ได้ด้วยเมื่อฝั่งผู้รับมีระบบการจัดการเนื้อหาหรือ Content Management System (CMS)  กระบวนการนี้เป็นเทคโนโลยีของ Web 2.0 ซึ่งทำให้ผู้รับและผู้ส่งข้อมูลสามารถโต้ตอบกันได้ผ่าน Blog และ Feed
ด้วยเหตุที่ Blog และ Feed สัมพันธ์กันได้แบบนี้ และ Feed มีโครงสร้างข้อมูลเป็นแบบ XML จึงสามารถนำมาสร้างเป็นลักษณะกึ่งหนังสือซึ่งมีคนนิยามเรียกว่า Blook ได้ โดยได้เริ่มนำ rss ที่แปลงจาก blog ซึ่งจะมีข้อมูล ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียน วันที่เขียน วันที่โพสขึ้น blog ตัวเนื้อหา และอื่นๆ มาจัดการคัดแยกแบ่งออกเป็นเรื่องๆ โดยใช้ภาษาที่เรียกว่า xsl และตกแต่งเพิ่ม สีสัน การวางรูป การจัดหน้าด้วยภาษา CSS อีกที ดังที่ตอนนี้ผมได้ทดลองนำเรื่องราวประมาณ 100 เรื่องจาก Blog ของหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ มาดำเนินการตามกระบวนที่กล่าวถึงอย่างคร่าวๆ และตอนนี้ก็ได้คุยกันอย่างคร่าวๆที่อยากให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการออกแบบ Blook ตั้งแต่ หน้าปก ปกใน ปกหลัง คำนำ คำประกาศ  การจัดสารบัญ  การจัดเนื้อหาแต่ละบท แต่ละหน้า ลักษณะการเปิดอ่าน  และอื่นๆ โดยตอนนี้ผมได้ทำ Blook ทดลองแต่เป็นรูปแบบ HTML หรือ หน้าเว็บ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อ Blog อยู่ในรูปของ XML แล้วเราสามารถออกแบบให้แปลง Blook ออกเป็น รูปแบบอื่นๆได้ เช่น pdf หรือ อาจจะแตกย่อยเป็น XML ชนิดอื่นๆ ได้ต่อไป
จะเห็นว่าเราได้เริ่มกระบวนการผลิตและการจัดพิมพ์ตามแบบฉบับของเราเองอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยที่เราสามารถทำ e-publishing อย่างง่ายได้และยังสามารถเห็นและเข้าใจกระบวนการผลิตหนังสืออิเล็กทรกนิกส์ตั้งแต่ต้นจนจบ ทุกคนมีส่วนร่วมในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งทำให้เกิดความเข้าใจ ในความแตกต่างและความหลากหลายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และกระบวนการจัดพิมพ์ (e-publishing) ซึ่งน่าจะทำให้เราเข้าใจในทุกระดับ และที่สำคัญคือสามารถแยกแยะและเห็นโครงสร้างของสิ่งที่เราจะสร้างอาจจะเรียกว่า Blook หรือ e-book หรือ สื่อสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่มากก็น้อย รวมถึงการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการ ซึ่งน่าจะเป็นกระบวนการเรียนรู้ และจัดการความรู้ด้วยการปฏิบัติ หรือ Learning by Doing หรือตามสโลแกน ไนกี้ว่า Just Do IT
ไปล่ะ KiatTaShi เอง

4 thoughts on “จาก Blog สู่ Blook ขั้นแรก

  • ในที่สุดงานที่พวกเราทุกคนมีส่วนกันปลุกปล้ำก็ค่อยๆ เป็นรูปเป็นร่างจับต้องได้ นึกย้อนหลังนับว่าพวกเราใช้เวลากันอย่างคุ้มค่าที่เดียวเพราะยังไม่ถึงปีเลย รู้สึกว่าพวกเราช่าง “เหนียว” ดีจริงๆ (อ่านความหมายจากเรื่องข้อต่อแบบอ่อนของพี่พัชค่ะ)
    สำหรับ Blook ทั้งร้อยเรื่องกำลังงกๆ เงิ่นๆ จดๆ จ้องๆ ช่วย KiatTaShi ทำอยู่ เนื่องจากทุกเรื่องเป็นเรื่องใหม่สำหรับตัวเอง และอยากสร้างให้เป็นโมเดลสำหรับการคิด การออกแบบ การทำความเข้าใจกับ flow งาน รวมทั้งทำความเข้าใจกับ XML ว่าเราสามารถทำได้โดยไม่ต้องลงทุนอะไร เพียงคิดต่อและ่ just do it อย่างที่เกียรติบอก และทุกอย่างต้องใช้ความอดทนและความพยายามอย่างสูงยิ่ง พี่ดวงแวะมาทักทาย…. เลยใหดูหน้าตาของเจ้าร้อย blog บอกพี่ดวงว่าต่อไปก็จะเป็น blook ของแต่ละคน หรือ blook ของแต่ละเรื่อง
    นอกจากจะช่วยออกแบบงานให้กับคนใกล้ๆ ตัวแล้ว ขณะนี้กำลังเตรียมให้ีนักศึกษาฝึกงานทำโครงการทดลองแต่โครงการยังไม่นิ่งและยังไม่ได้คุยกับเจ้าของงานแต่คาดว่าเสร็จแล้ว คาดว่า็จะเป็นงานที่น่าสนใจในวงการไม่น้อยเลยทีเดียว
    ระหว่างนี้ใครที่มาเช้าหน่อย กลับเย็นนิดโดยเฉพาะบรรณารักษ์ลองเข้าไปศึกษาเรื่อง xml ดู ส่วนเพื่อนพ้องน้องพี่ท่านอื่นๆ หอสมุดฯ มีพื้นที่ให้พวกเราได้แบ่งปันประสบการณ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ก็อย่าลืมกันเน้อ… คอยอ่านของทุกคนค่ะ

  • ในที่สุด blog ของเราก็มาถึงอีกขั้นหนึ่งแล้ว คงจะได้เห็นหน้าตากันในเร็ววันนี้ ที่สำคัญจะอยู่ในหลักการของคำว่ามาตรฐาน [เอกสารมาตรฐาน หรือว่า มาตรฐานของเอกสาร…กันแน่น๊า] xml….xml…xml

  • นู๋เอ๋ อี xml เนี่ย พอจะทำให้มันง่ายเข้า แบบให้พวกยูสเซ่อๆ อย่างพี่พอจะเรียนรู้ได้ง่ายๆ น่ะ
    ยกตัวอย่าง อย่างเช่น worksheet ที่นู๋ๆ ช่วยกันออกแบบ เอา Tag สำคัญๆ มาพร้อม sub field ที่จำเป็น
    ช่วยพวก สว.ที่ความจำสั้น รักก็ไม่ยาว ใช้ทำงานได้น่ะ ยากไปไหม
    เพราะดูๆ แล้ว มันเหมือนเป็น Patern ใช่มะว่าต้องใช้เครื่องหมายนั้น คำสั่งนี้ เปิดและปิด ให้ถูกที่ถูกทาง
    เอาแบบ Worksheet ให้หัดทำการบ้าน กรอกข้อมูลใส่ไป อะไรทำนองเนี้ย น่ะ ไม่รู้จาเข้าใจถูกอ๊ะเปล่า

  • XML เป็นมาตรฐานของเอกสาร เพื่อให้เราสร้าง (โครงสร้าง) เอกสารให้มีมาตรฐาน 555
    ที่หนูเล็กบอกมันเป็นช่วงปลายๆ ขั้นเริ่มต้นให้ดู flow งานของเราไปก่อนว่างานของเราไหลไปถึงไหน อีกไม่นานคงได้สัมผัสเพราะงานจัดหาจะเป็น site ทดลองของพี่ค่ะ

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร