ภาษาถิ่น

:mrgreen: การให้หัวเรื่อง ภาษาถิ่น เป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจว่า
หัวเรื่อง : ภาษาถิ่น (Dialectology) ใช้เป็นหัวเรื่องหลัก และ** ใช้เป็นหัวเรื่องย่อยด้วยตามหลังชื่อภาษาได้ด้วย เช่น ภาษาไทย–ภาษาถิ่น แต่ไม่มีการแบ่งย่อยตามภูมิศาสตร์  ส่วนชื่อภาษาถิ่นใช้เป็นหัวเรื่องได้ เช่น ภาษาไทยถิ่นกลาง ; ภาษาไทยดำ
หัวเรื่อง : ภาษาไทยถิ่นกลาง จะแบ่งตามชื่อภูมิศาสตร์  หมายถึง ภาษาที่พูดกันในภาคกลาง เช่น ภาษาประจวบคีรีขันธ์ ภาษาเพชรบุรี ภาษาสุพรรณบุรี
จะไม่ใช้คำว่า “ภาษาไทยกลาง” เป็นหัวเรื่อง

หัวเรื่อง : ภาษาไทยถิ่นใต้ จะแบ่งตามชื่อภูมิศาสตร์  หมายถึง ภาษาปักษ์ใต้ เป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในภาคใต้ของประเทศไทย นับแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซียรวม 14 จังหวัดและบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จะไม่ใช้คำว่า “ภาษาปักษ์ใต้” เป็นหัวเรื่อง

หัวเรื่อง : ภาษาไทยถิ่นเหนือ จะแบ่งตามชื่อภูมิศาสตร์  หมายถึง ภาษาที่ใช้ในแถบภาคเหนือตอนบน ของวัฒนธรรมล้านนา จะไม่ใช่คำว่า “ภาษาคำเมือง” เป็นหัวเรื่อง

 ภาษาไทยถิ่นอีสาน จะแบ่งตามชื่อภูมิศาสตร์  หมายถึง ภาษาลาว เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย  จะไม่ใช้คำว่า “ภาษาอีสาน” เป็นหัวเรื่อง
ทำไมต้องทำความเข้าใจเรื่องนี้มาเสียมากมายและยืดยาว ก็เพราะเกิดอาการ งงๆๆ   กับการให้หัวเรื่องในฐานข้อมูล

 
 
 
 
 
 
 
 
 
ในที่นี้เรามาทำความเข้าใขเรื่องภาษาถิ่นกันดีกว่า การแบ่งภาษาถิ่นเป็นการแบ่งอย่างคร่าวๆ ซึ่งตามสภาพความเป็นจริงแล้วภาษาในแต่ละภาคก็ไม่เหมือนกันทีเดียว มีความผิดเพี้ยนกันไปบ้าง
ภาษาถิ่น หรือ สำเนียง คือ ภาษาเฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีรูปลักษณะเฉพาะตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียง
โดยภาษาถิ่น เป็นภาษาย่อยที่ใช้พูดจากันในท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากการใช้ภาษาเพื่อการสื่อความหมาย ความเข้าใจกันระหว่างผู้คนที่อาศัยอยู่ตามท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งอาจจะแตกต่างไปจากมาตรฐาน หรือภาษาที่คนส่วนใหญ่ของแต่ละประเทศใช้กัน และอาจจะแตกต่างจากภาษาในท้องถิ่นอื่นทั้งทางด้านเสียง คำและ การใช้คำ
ภาษาถิ่น เป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะ ทั้งถ้อยคำและสำเนียง ภาษาถิ่นจะแสดงถึงเอกลักษณ์ ลักษณะความเป็นอยู่ และวิถีชีวิตของผู้คน ในท้องถิ่นของแต่ละภาค ของประเทศไทย บางทีเรียกว่า ภาษาท้องถิ่น และหากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลาย และมีภาษาถิ่นย่อย ๆ ลงไปอีก ซึ่งภาษาถิ่นจะเป็นภาษาพูด หรือภาษาท่าทางมากกว่าภาษาเขียน
ภาษาถิ่น หรือ ภาษาไทยถิ่น (Thai Dialect) ประกอบด้วยคำ 3 คำ ได้แก่ คำว่า “ ภาษา ” “ ไทย ” และ “ ถิ่น ” ซึ่งแต่ละคำพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ . ศ . 2525 ( พิมพ์ครั้งที่ 6 พ . ศ . 2539) ได้ให้คำจำกัดความดังนี้
“ภาษา” น . เสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ คำพูด ถ้อยคำที่ใช้พูดกัน ; โดยปริยาย หมายถึง คนหรือชาติ ที่พูดภาษานั้น ๆ เช่น นุ่งห่มและแต่งตัวตาม ภาษา หรือหมายความว่า มีความรู้ ความเข้าใจ
“ไทย” [ ไท ] น . ชื่อประเทศ และชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพรมแดน ติดต่อกับลาว เขมร มาเลเซีย และพม่า ชนชาติไทยมีหลายสาขาด้วยกัน เช่น ไทยใหญ่ ไทยดำ ไทยขาว ความมีอิสระในตัว ความไม่เป็นทาส
“ถิ่น” น . ที่ แดน ที่อยู่ เช่น ถิ่นเสือ ถิ่นผู้ร้าย
เมื่อนำคำทั้ง 3 คำ มาเรียงเข้ากันเป็นกลุ่มคำหรือวลี จึงได้คำว่า “ภาษาไทยถิ่น” ซึ่งหมายถึงภาษาที่ใช้พูดติดต่อสื่อสาร ตามท้องถิ่นต่าง ๆ สื่อความหมาย เข้าใจกันในท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งแต่ละถิ่นอาจพูดแตกต่างกันไปจากภาษาไทยมาตรฐาน ทั้งในด้านเสียง คำ และการเรียงคำบ้าง แต่ความหมายคงเดิม
อ้างอิงจาก : http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/ภาษาถิ่น
ภาษาถิ่นของไทยจะแบ่งตามภูมิศาสตร์หรือท้องถิ่นได้เป็น 4 ถิ่นใหญ่ ๆ คือ
ภาษาถิ่นกลาง เป็นภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น เพชรบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดเหล่านี้ มีสำเนียงพูดที่แตกต่างกันออกไป จะมีลักษณะเพี้ยนเสียงไปจากภาษากลางที่เป็นภาษามาตรฐาน ภาษาที่พูดกันในภาคกลางที่สำคัญ คือ ภาษากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นภาษาราชการ  ภาษากรุงเทพฯ ถือเป็นภาษาถิ่นภาคกลางที่ยอมรับกันว่าเป็นภาษามาตรฐานที่กำหนดให้คนในชาติ ใช้ร่วมกัน เพื่อสื่อสารให้ตรงกัน
ภาษาถิ่นเหนือ หรือภาษาถิ่นพายัพ (คำเมือง) ได้แก่ ภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในบางจังหวัดของภาคเหนือตอนบน หรือภาษาในอาณาจักรล้านนาเดิม มักจะพูดกันมากในจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา ลำปาง น่าน ลำพูน ตาก แพร่ เป็นต้น
ภาษาถิ่นอีสาน ของประเทศไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาที่พูดที่ใช้กันในประเทศลาว แต่ภาษาอีสานก็ยังถือว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาไทย ภาษาถิ่นอีสานมีภาษาถิ่นย่อยหลายภาษา ได้แก่ ภาษาที่ชนกลุ่มใหญ่ในภาคอีสานใช้พูดจากัน ซึ่งใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น สกลนคร หนองคาย นครพนม ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด เลย ชัยภูมิ มหาสารคาม กาฬสินธุ์ เป็นต้น
ภาษาถิ่นใต้ เป็นภาษาถิ่นที่ใช้สื่อสารอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของภาคใต้ของประเทศไทย ลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซีย รวม 14 จังหวัด เช่น ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต พัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช เป็นต้น และบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

         ภาษาถิ่นใต้ ยังมีภาษาถิ่นย่อยลงไปอีกเป็นภาษาถิ่นใต้ตะวันออก เช่น ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ตรัง สตูล ภาษาถิ่นใต้ตะวันตก เช่น ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดกระบี่ พังงา ระนอง สุราษฎร์ธานีและชุมพร และภาษาถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห เช่น ภาษาถิ่นที่ใช้ในจังหวัดนราธิวาส และ ปัตตานี

แหล่งอ้างอิง
จาก : หัวเรื่องในฐานข้อมูลคณะทำงานฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=1525 อ้างถึง เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. ภาษาไทย ป.3. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=7562.0
http://www.aksorn.com/userfiles/127_.pdf

//

//

//

One thought on “ภาษาถิ่น

  • ป้าแมวจะเขียนภาษาไทยถิ่นเหนือ (แพร่) ใครแปลเป็นภาษาไทยกลางได้ ช่วยแปลให้เพื่อนฟังด้วย เป็นเรื่องการโต้ตอบกันระหว่าง หนุ่มสาวที่กำลังเต้นจังหวะคาริบโซ่บนเวที่รำวง (แบบนี้นะ โป๊ง ตะล่ง โป๊ง ฉึ่ง ฉึ่ง ฉึ่ง โป๊ง โป๊ง ฉึ่ง)
    กำลังเต้นนะ
    หนุ่ม น่อง อยู่ บ้าน ไหน่ สาว น่อง อยู่ บ้าน ไผ่
    หนุ่ม ปี้ไป ส่ง ได้ ก่อ สาว บ่อ บ่อ ได้ น่อง กั๋ว แม่ น่อง ด่า

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร