ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้กับองค์กรแห่งการเรียนรู้

จากการที่ข้าพเจ้าได้อ่านหนังสือเรื่อง Learning Organization & Knowledge Management ซึ่งมีเนื้อหาน่าสนใจและเป็นเรื่องใกล้ตัวที่หนีไม่พ้น เพราะเป็นเรื่องที่องค์กรให้ความสำคัญและกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรของเรา ซึ่งเรื่องของ องค์กรแห่งการเรียนรู้ และการจัดการความรู้ ทุกคนก็ได้รับรู้รับฟังอยู่เสมอ ซึ่งอาจจะเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง แต่ในความคิดเห็นของข้าพเจ้า คิดว่า 2 เรื่องดังกล่าวมีความสำคัญกับตัวเราเป็นอย่างยิ่ง ที่เราจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นถึงความสำคัญ ในองค์ประกอบ และความสัมพันธ์ ที่ส่งผลต่อองค์กรของเรา
ฉะนั้น จึงคิดว่าควรจะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ๆ ในองค์กรซึ่งประเด็นสำคัญ คือ เราต้องทำความเข้าใจเรื่องของความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ของ การทำ LO กับ KM ในองค์กรมีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างไรนั่นก็คือ การจัดการความรู้(KM )จะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO) หรือกล่าวได้ว่า LO จะเกิดขึ้นได้ ต้องมี KM เป็นตัวช่วยบริหารจัดการ โดยใช้เทคนิค CC (Child centered education) ในการขุดค้น ดึง ความรู้ต่าง ๆออกมา เมื่อนำความรู้ออกมาก็มาบริหารจัดการความรู้นั้นและ รักษาไว้อย่าให้หาย โดยการนำไปถ่ายทอด ซึ่งมี KM เป็นห้องสมุด และเป็นแหล่งในการทำ CC แต่ทั้ง 3 อย่างจะเกิดขึ้นได้ เราต้องเรียนรู้เรื่อง “การบริหารงาน บริหารใจ เพื่อฝึกจิต สร้างสติก่อน เพราะเป็นเรื่องสำคัญ เป็นรากฐานของทุกกิจกรรมในองค์กร
ดังนั้น การที่ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้หรือ องค์การแห่งการเรียนรู้ นั้นก็ต้องมีเรื่องของ การจัดการความรู้ การเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ core competency การคิดอย่างเป็นระบบ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ การใช้ธรรมะ เข้ามาสอดแทรกในการเรียนรู้และบริหารงาน ซึ่งธรรมะทางพุทธศาสนา เช่น ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นต้นซึ่งในเรื่องของ LO & KM ต้องใช้ทั้ง สมาธิ สติได้ปัญญา หรือเรียกว่า ไตรสิกขา จึ่งส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ของคนในองค์กร ซึ่งมองว่า องค์กรที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นอมตะได้ นั้น ต้องอาศัยเรื่องดังกล่าวเป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อที่องค์กรสามารถปรับตัวได้ตามสถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเทคนิคการทำ ให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่น่าสนใจ ประกอบด้วย 8 ส ได้แก่ 1. สนุกสนาน (เรียนแบบสนุกสนาน เพลินไม่เครียด) 2.สะดวก (หาข้อมูลได้ง่าย เรียนตามเวลาที่สะดวก สถานที่เรียนสะดวก) 3.สร้างสรรค์มีสาระ (ได้ผลงานออกมาเป็นประโยชน์ ตรงตามยุทธศาสตร์ขององค์กร) 4. สื่อสาร (เมื่อได้ความรู้แล้ว ต้องสื่อสาร ถ่ายทอด แบ่งปัน ) 5. สามัคคี (เรียนรู้เป็นทีม ) 6. สะสม (หาองค์ความรู้ แล้วทำการสะสมไว้ในลักษณะ Knowledge management) 7. สี่การให้ คือ ให้อภัย ให้โอกาส ให้ความรู้ ให้ธรรมะ 8. สิกขาสาม คือ ไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา)
วิธีการทำองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศได้ตลอดกาลหรือมีความเป็นอมตะและบุคลากรในองค์กรทำงานอย่างมีความสุขได้นั้น ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำทางความคิดและผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อการบริหารและพัฒนาบุคลากรโดยต้องอาศัยกระบวนการของ KM เป็น “ตัวช่วย” ส่วน CC (Child centered education) เป็น “เครื่องมือ” ส่วน Core competency คือ “แผนที่นำทางสู่เป้าหมาย” องค์กรแบบ LO คือ “บรรยากาศ” การบริหารคน และ Coaching คือ “เชือก” ต้องฝึก สติ พนักงานทุกระดับ อิทธิบาท 4 คือ “หัวใจของความสำเร็จ ” สติมา ปัญญาเกิด ผลลัพธ์ คือ องค์กรก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ดังนั้น LO & KM & CC จึงมีความเกี่ยวพันธ์กันเป็นยุทธ์ศาสตร์ที่นำมาพัฒนาตนเอง พัฒนาองค์กร ในกระบวนการพัฒนาต่าง ๆ นั้น การเรียนรู้กับธรรมะ เป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนา การจะสร้าง ปลูกฝังให้บุคลากรในองค์กรเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ เพื่อให้เกิดความรู้ ทักษะ ความสามารถ ต้องปลูกฝังวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กร และสร้างบรรยากาศในองค์กรในการเรียนรู้ด้วยเช่นกัน ซึ่งแนวทางการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ข้าพเจ้าได้เขียนลง Blog ก่อนหน้านี้แล้วค่ะ

ทุกคนต้องทำงานเพื่อ “ให้” อย่าทำงานเพื่อหวัง เพื่อมี
Everybody must work for “giving’ but not for satisfying one’s desire or gaining something.

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร