เรื่องของ Regions and Countries Table

:mrgreen: เมื่อสัปดาห์ก่อนได้คำถามมาจากบรรณารักษ์ท่านหนึ่งเรื่อง การกระจายชื่อประเทศในการวิเคราะห์หมวดหมู่ เมื่อตอบคำถามนั้นไปแล้ว และเพื่อให้แน่ใจก็เลยต้องไปหาความรู้มาเพื่อสนับสนุนคำตอบนั้น ซึ่งในการวิเคราะห์หมวดหมู่ในระบบ LC  หรือ ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน บรรณาัรักษ์ย่อมเรียนรู้หมวดหมู่ต่างๆ ว่ามีขอบเขตของเนื้อหาครอบคลุมสาขาวิชาใดบ้าง ในแต่ละหมวดหมู่ย่อมที่การแบ่งหมวดหมู่ การใช้ตาราง ที่เหมือนหรือแตกต่างกันไป แต่มีสิ่งหนึ่งที่คล้ายกันคือ การกระจายของเนื้อหาในหมวดหมู่นั้นตาม “ ภูมิภาคหรือประเทศ ” หรือ ” By region or country, A-Z ” ตัวอย่างเช่น
DA20-690                                     England
DA20-27.5                                          General
……
DA600-667                                         Description and travel.  Guidebooks
DA670-690                                         Local history and description
DA670                                                      Counties, regions, etc., A-Z
……
DA690                                                      Other cities, towns, etc., A-Z
ซึ่งการการจายเนื้อหาตามภูมิภาคหรือประเทศนั้น เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน LC ได้กำหนดกำหนดการใช้ตารางภูมิภาคและตารางประเทศ หรือ The classification schedule By region or country, A-Z ไว้เป็นแนวทางในการให้ Cutter ตามภูมิภาคหรือประเทศสำหรับการจัดหมวดหมู่ ซึ่งภูมิภาคหรือประเทศที่ปรากฏในตารางที่ใช้ในปัจจุบันมีทั้งหมด 193 ประเทศ (ซึ่งชื่อประเทศหรือชื่อเขตพื้นที่ปรากฏเป็นทางการในโลกตั้งแต่ปี 2005)
ตัวอย่าง Regions and Countries Table

Brazil B6
British Guiana see Guyana
British Honduras see Belize
British Isles B65
Brunei B7
Bulgaria B9
Burkina Faso B92
Burma B93

หรือ

Nepal N35
Netherlands N4
Netherlands Antilles N42
New Caledonia N425
New Guinea N43
New Hebrides see Vanuatu
New Zealand N45
Nicaragua N5
Niger N55
Nigeria N6
North America N7

ดูเพิ่มเติมได้ที่ Regions and Countries Table (http://www.itsmarc.com/crs/mergedProjects/SCMshelf/scmshelf/g_300_regions_and_countries_table_shelf.htm#Regions_Counties_Table)
หรือ http://www.libraries.psu.edu/psul/cataloging/maps/docs/gregions.html
หรือ http://staff.library.mun.ca/staff/toolbox/tables/regcoun.htm
หลักการให้ Cutter ชื่อภูมิภาคหรือประเทศนั้นสามารถทำได้ดังนี้
Cutters ที่มีอยู่แล้วในรายการตารางภูมิภาคหรือประเทศ หรือใน shelflist
– Cutters ใหม่ ถ้า Cutters เฉพาะสำหรับภูมิภาคหรือประเทศที่กำหนดไว้ไม่สามารถใช้ได้ หรืออาจเกิดการขัดข้องบางประการ เช่น เลขนั้นอาจถูกใช้ไปแล้ว สามารถกำหนด Cutters ใช้ใหม่ได้ โดยใช้หลักการกระจาย Cutters ของ LC
– อาณาเขตในประเทศประเทศต่างๆ  หรืออาณาเขตที่ถูกกำหนดให้เป็นอำนาจอธิปไตยของประเทศนั้น
กฎทั่วไป เมื่อมี การกำหนด Cutter ภูมิภาคหรือประเทศ ภายใต้หัวข้อหรือเรื่องที่กำหนด ซึ่งพื้นที่หรืออาณาเขตที่ปรากฏในเนื้อหาอยู่ในประเทศใด หน่วยงานนั้นๆ อยู่ในประเทศหรือภูมิภาคใด สามารถใช้คัตเตอร์ ของประเทศนั้นได้เลย
– พื้นที่ที่กว้างกว่าประประเทศ หรือเป็นรอยต่อของเขตแดน สามารถให้ Cutter ที่ชื่อนั้นได้ เช่น

Africa, North .A355 [หมายถึงประเทศหลายประเทศในแอฟริกา]
Yukon River Valley .Y8 [อยู่ชายแดนระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา]

หรือ ชื่อเขตพื้นที่อนุภูมิภาคที่มีคำ adjective นำ สามารถให้ Cutter ที่อักษรตัวแรกได้เลย เช่น

South Africa S6
South America S63
South Asia S64

หรือ หมู่เกาะต่าง หากเป็นหมู่เกาะที่ภายใต้การปกครองของประเทศใด ก็ให้ Cutter ที่ประเทษนั้น แต่ถ้าหากปกครองตนเอง ก็ให้ Cutter ที่ชื่อหมู่เกาะได้เลย
😆 จากข้างตันเป็นความรู้ที่ได้จากการอ่าน แล้วนำมาเล่าสู่กันฟัง แต่ถ้าหากสนใจศึกษารายละเอียดสามารถไปหาอ่านเพิ่มเติมได้ค่ะ เรื่องของการวิเคราะห์หมวดหมู่มีเรื่องราวให้น่าศึกษาค้นคว้าอีกมากมาย หากเิกิดข้อสงสัยก็อย่ารอช้า หมั่นศึกษากันเข้าไว้จ้า 😀


Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร