ฅ…..คน

ฅ “ฅน” กับ ฃ ขวด ตกอยู่ในอาการเดียวคือ อยู่ๆ ก็หายไปอย่างไร้ร่องรอย หายไปไหน
อ่านๆ ได้ความว่าเป้นเพราะประชาชนคนไทยไม่ชอบใช้ เอ… มีผลถึงเพียงนี้เลยหรือ อักษรตัวอื่นเขียนยากกว่านี้ตั้งเยอะ อย่าง ฎ กับ ฏ หรือ ส ษ ศ เป็นต้น ก็ยังใช้กันอยู่ถึงปัจจุบัน
จึงอดไม่ได้ที่ไปค้นๆ ได้ความแบบประวัติศาสตร์มีคำตอบว่า ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง  กองทัพญี่ปุ่นขึ้นบกที่ประเทศไทยเพื่อใช้เป็นทางผ่านไปพม่า-อินเดีย ประเทศไทยสมัยนั้นเป็นรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม นั้น เล่ากันว่าญี่ปุ่นเห็นการเขียนภาษาไทยเป็นเรื่องยุ่งยาก มีพยัญชนะเสียงซ้ำกันหลายตัว คงได้ปรารภกับผู้นำรัฐบาลไทย ทำให้จอมพล ป. พิบูลสงครามออกประกาศ พ.ศ.2485 เลิกใช้พยัญชนะที่มีเสียงซ้ำกัน ได้แก่ ฃ ฅ ฆ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ศ ษ ฬ ทร(อักษรควบไม่แท้) ส่วนตัว ญ ให้ตัดเชิงออก อักขรวิธีการเขียนสมัยนั้นจึงไม่มีพยัญชนะดังกล่าวใช้ ต่อมาญี่ปุ่นแพ้สงคราม จอมพล ป.พิบูลสงคราม พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พ.ศ.2487 จึงเลิกบังคับใช้ประกาศดังกล่าว ตัวพยัญชนะที่ถูกเลิกใช้ ผู้คนก็นำกลับมาใช้ตามอักขรวิธีเดิม แต่ ฃ และ ฅ ผู้ใช้ภาษากลับไม่สู้นิยมใช้ จึงถูกละเลยไปโดยไม่มีใครประกาศยกเลิก แต่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ระบุว่า “ฃ  พยัญชนะตัวที่ 3 เป็นพวกอักษรสูง ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว และ ฅ พยัญชนะตัวที่ 5 นับเป็นพวกอักษรต่ำ แต่ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว” ดังนั้นจึงไม่มีคำที่เขียนด้วย ฃ และ ฅ ในพจนานุกรม ฉบับปัจจุบัน คัดลอกมาจากที่นี่จ้า http://thaiqa.swu.ac.th/room/index.php?topic=106.0 พอมายุคสมัยนี้ ฅ มีการนำมาใช้ในรายการทีวียอดฮิตคือ รายการ ฅนค้นฅน เราจึงหันมามองแป้นพิมพ์บ้างว่ามีพยัญชนะตัวนี้หรือไม่
ส่วนในชีวิตจริงเราก็มีโอกาสในการค้นฅน กับเขาบ้างเหมือนกัน
การค้น “ฅน” ในด่านแรกเริ่มจากการค้นหาศักยภาพทางวิชาการจากการทำข้อสอบ ที่พยายามออกให้ครอบคลุม แบบพื้นๆ ยืนยันว่าไมใช่ที่สูงสามสี่ชั้น เพื่อประเมินผู้มาสอบว่าหากตั้งใจเรียน ไม่ทะลุหูซ้ายออกหูขวา คงจะตอบได้บ้างมากกว่าครึ่ง
พอส่งข้อสอบไปทีไร มักมีเสียงหัวเราะพร้อมกับมธุรสวาจาว่าอันตัวข้าพเจ้า (คนอ่าน) นั้น ก็ยังทำไม่ได้ บอกไปว่า เราจบมานานแล้วนี่หว่า วิชาการอาจจะหดหายไปกับริ้วรอยบนใบหน้า หรือระหว่างทาง ส่วนน้ำหนักนั้นเพิ่มเอ๊าเพิ่มเอา
ความจริงขอสารภาพว่าที่ทำไปทั้งหมด เป็นการตอบสนองตัวเอง แก้แค้นเรื่องราวในอดีตที่เราทำข้อสอบไม่ได้แค่นั้นเอง!
แต่แล้วกรรมมีจริง ผลคือเวลาตรวจข้อสอบจึงมักต้องอารมณ์ดีๆ ใจร่มๆ สอบแค่ห้าคน ตรวจตั้งสองสามวัน แบบทีละคำๆ ปราณีตบรรจงยิ่งนัก
ด่านที่สองของการค้น “ฅน” ไม่ได้ยากแบบเชฟกระทะเหล็ก บรรดาสหายทั้งหลายต่างสวมวิญญาณเป็นคอมเม้นท์เตเตอร์  และมีบุคลิกภาพและการซักถามต่างกัน ช่วงสองสามปีสอบค้น “ฅน” ค่อนข้างบ่อย ไม่ทราบว่าเป็นอิทธิพลของปีชงหรือไม่ ที่คนที่ไปมักไปแบบปุ๊บปั๊บ เล่นเอางงว่า … เว๊ยเฮ๊ยหายไปไหน รวดเร็วประหนึ่งกามนิตหนุ่ม
ด่านนี้เป็นเรื่องของความถูกใจ เหล่าคอมเม้นท์เตเตอร์จะมีคำถามเป็นแนวๆ ตามความถนัด พอหลายครั้งเข้าก้จะดักคอกันได้ว่าใครจะถามว่าอะไร แต่ถามไปเถอะ คนมาสอบมีกตอบแบบหนักแน่นเซย์เยส หรือไม่ก็บอกว่าตัวเองเป็นคนมีมานะ ฝึกฝนได้ มีความพยายามที่จะเรียนรู้ บลาๆๆๆๆๆ บอกว่า ทำได้ ยินดี น่ารัก เคารพ  พยายาม เข้าใจ อุทิศตัว
คนที่ได้นั้นจะตอบอะไรๆ ที่ดูดีไปโหม้ด …. บางรายเหล่าสหายฟังแล้วตกอยู่ในภวังค์อยากจะฝากผีฝากไข้ กะว่าถ้ามาเข้ามาแล้วจะส่งเสริมให้เป็นรัฐมนตรีเงากันเลยนะ จะบอกให้ คิดดู๊… “อิน” กันขนาดไหน ดังนั้นน้องๆ ที่มาที่นี่จงภูมิใจ
Once upon a time เมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน เราก็พบว่า “ฅน” ที่ค้นมา บางทีก็เปลี่ยนไป๋ หากอยากรู้หรืออยากเช็คเรทติ้ง ต้องหมั่นสดับรับฟังเสียงจาก เหล่า “คอมเม้นท์เตเตอร์” ที่มากกว่าวันสอบเอาแล้วกันว่าเป็นอย่างไร แล้วนำมาทบทวนปรับเปลี่ยนหรือตอกย้ำ  เคยแซวๆ เล่นให้เปรียบเทียบระหว่างวันแรกที่มาทำงาน กับ ณ วันปัจจุบัน ว่าพฤติกรรมของเรามีอะไรที่เหมือนหรือแตกต่าง เรื่องนี้น่าคิดทีเดียว
เนื่องจากหน่วยงานนั้นมีความรู้สึกว่าต้องรักษา “ฅน” ที่ค้นมาให้อยูในลู่ในทางที่องค์กรต้องการ เพราะกว่าจะได้อัตราใหม่มาสักคนไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีวิทยายุทธ์ระดับฮุ๊นปวยเอี๊ยง หรือบางครั้งก้ต้องไปหาบัวหิมะกินสักสองสามดอก (ใครอ่านแล้วเข้าใจแสดงว่าเรารุ่นเดียวกัน ใครอ่านไม่เข้าใจแสดงว่าตกรุ่น อิอิ)
เราจึงจำเป็นต้องดูแล  รวมทั้งต้อง “ค้น” ศักยภาพที่ซ่อนเร้นแฝงตัวออกมาให้ได้ เพราะอีกไม่นานองค์กรอยู่ได้ด้วยมือของพวกท่าน ที่เราปรารถนาให้เป็นจอมยุทธ์ ระหว่างการฝึกฝนก็ให้ยก KPI มาอ่าน พิจารณา ตีความให้เข้าใจ เพราะทั้งสามส่วนคือแนวทางไว้ให้เหล่าจอมยุทธ์เดิน …ดูดู๊วกมาเรื่องนี้จนได้

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร