โรคลมเหตุร้อน “ฮีตสโตรก (heat stroke)”

เมืองไทยเรานั้นเป็นเมืองร้อน ซึ่งบางปีก็ร้อนน้อย ร้อนมาก ร้อนที่สุด ร้อนแบบสุดฤทธิ์สุดเดช คุณหมอหลายท่านได้ออกมาเตือนให้ระวังอาการและโรคต่างๆ ที่มักจะพ่วงมากับความร้อน อาการผิดปกติหรือโรคที่เกิดจากความร้อนนั้น แบ่งได้เป็น 3 ระดับ ตั้งแต่ระดับรุนแรงน้อย ได้แก่ ตะคริวชักเหตุร้อน (heat cramp) ซึ่งไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต รุนแรงปานกลาง ได้แก่ การหมดแรงเพราะร้อน (heat exhaustion) ไปจนถึงรุนแรงที่สุด คือ โรคลมเหตุร้อน หรือฮีตสโตรก (heat stroke) นั่นเอง
สาเหตุ à ปกติแล้วร่างกายของเราจะใช้เหงื่อและปัสสาวะเป็นตัวปรับอุณหภูมิ เมื่ออากาศร้อน ร่างกายจะคายความร้อนออกมาพร้อมกับน้ำในรูปของเหงื่อ แถมยังสูญเสียเกลือแร่ไปด้วยพร้อมๆกัน ถ้าอากาศร้อนมากๆ ร่างกายจะสูญเสียน้ำอย่างรวดเร็วและอาจขาดน้ำ พอความร้อนระบายออกไม่ได้ อวัยวะภายในร่างกายหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ตับ ปอด ม้าม หัวใจ หรือสมอง ก็จะ “สุก” และทำงานผิดปกติไปได้
อาการ à มีไข้สูง (อาจถึง 41 ํC หรือกว่านั้น) ผิวหนังเป็นผื่นแดง กระหายน้ำมาก เหงื่อไม่ออก ปวดหัว วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้และชีพจรเต้นเร็ว ก็ให้สงสัยว่าน่าจะเป็นฮีตสโตรกเข้าให้แล้ว ถ้าทิ้งไว้เขาอาจจะชักและหมดสติด้วย และถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจจะทำให้เสียชีวิตได้
ความเสี่ยงต่อโรค à ทุกคนมีสิทธิ์เสี่ยงกับโรคฮีตสโตรกกันถ้วนหน้า ไม่ใช่แค่เพียงกลุ่มคนที่ต้องเจอกับอากาศร้อนๆ เป็นประจำ เช่น ผู้ใช้แรงงานและเกษตรกร เท่านั้น คนในเมืองอย่างสาวห้างฯ หนุ่มออฟฟิศ ถ้าออกจากที่เย็นสบาย เช่น ห้องแอร์ไปเจอแดดแรงๆ เป็นเวลานานๆ ก็น่าเป็นห่วงเหมือนกัน คนที่เสี่ยงต่อโรคนี้มากเป็นพิเศษ ได้แก่ ผู้สูงอายุ คนที่กำลังอ่อนเพลีย รวมทั้งคนที่ดื่มสุราจัด แม้แต่ สัตว์เลี้ยงบางกลุ่มก็มีความเสี่ยงสูงต่อโรคฮีตสโตรกเช่นกัน เช่น ตัวที่อายุยังน้อยหรือแก่มากๆ ตัวที่อ้วนเป็นพิเศษ และตัวที่มี่ขนหนาๆ ยิ่งถ้าตัวไหนมีปัญหาโรคหัวใจหรือระบบการหายใจก็เสี่ยงด้วยเช่นกัน
การป้องกัน&แก้ไข à นอกจากการออกกำลังกายซึ่งคุณหมอบอกว่าสามารถช่วยป้องกันโรคนี้ได้ชะงัดนักแล้ว วิธีการป้องกันตัวเองจากภัยอันเกิดจากความร้อนที่ทำได้เลย ได้แก่
– ดื่มน้ำมากๆ : ปกติ ถ้าคุณดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว แต่ถ้าอากาศร้อนจัดๆ ก็เพิ่มเป็นสองเท่าได้
– อยู่ในที่อากาศถ่ายเท : ที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวกจะช่วยให้ร่างกายของคุณระบายความร้อนได้ดี
– สวมเสื้อผ้าหลวมๆ สีอ่อนๆ : เสื้อผ้าที่หลวมจะทำให้ร่างกายของคุณระบายความร้อนได้ดี ส่วนผ้าสีอ่อนๆ จะไม่อมความร้อนไว้มากนัก
– เลือกทำกิจกรรมให้เหมาะสม : อย่าเล่นกีฬากลางแจ้งนานๆ หรือทำกิจกรรมอะไรที่ต้องอยู่ในที่ร้อนจัดเป็นระยะเวลานานๆ
การช่วยเหลือ à ถ้าเจอใครที่สงสัยว่าเป็นโรคฮีตสโตรกเข้าแล้ว ก็ต้องรีบเรียกรถพยาบาลทันที จากนั้นก็เคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังที่อากาศเย็นกว่า ถ้าไม่หายใจก็ต้องทำการช่วยผายปอด ให้ผู้ป่วยนอนหงายและยกเท้าให้สูงขึ้น ทำให้ร่างกายของผู้ป่วยเย็นขึ้นโดยใช้พัดลมเป่าหรือผ้าเย็นประคบ และที่สำคัญ ต้องคอยวัดอุณหภูมิทุก 10 นาที และการทำให้ร่างกายเย็นลงนั้น ต้องระวังอย่าให้เย็นเกินไปจนอุณหภูมิต่ำกว่า 38 ํC
แต่สำหรับสัตว์เลี้ยง สิ่งแรกที่สำคัญที่สุดคือ ต้องทำให้ร่างกายเขาเย็นลง โดยอาจพาเข้าไปในบ้านที่เปิดแอร์ ให้อยู่ในน้ำเย็นๆ (แต่ไม่เย็นจัด) และให้จิบน้ำเย็นแต่น้อย แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นหรือยิ่งทรุดหนัก ต้องรีบส่งแพทย์โดยด่วน โดยระหว่างทางให้ใช้น้ำแข็งประคบที่หัว คอ และอกเพื่อให้เขาคลายร้อนลงจนใกล้อุณหภูมิปกติ แต่ต้องระวังอย่าให้ร่างกายเย็นเกินไป
ที่มา: บัญชา ธนบุญสมบัติ. ลมฟ้าอากาศ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2546.

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร