JOURNAL LINK

เล่าเรื่อง ความเป็นมาของ Journal Link ได้มีโอกาสไปประชุมงานวารสาร  ภายใต้หัวข้อ “เปิดตัวกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สานสัมพันธ์คณะทำงาน ๒ กลุ่ม โดย มีฝ่ายวารสารและเอกสาร และฝ่ายบริการ  และเรื่อง Journal Link Change มีเราชาวหอสมุด ฯ sus ไป ๓ คน คือ พี่พัช พี่นก และข้าพเจ้า และได้รับมอบหมายให้เล่าเรื่องประวัติความเป็นมาของ Journallink
“Journal” หรือ “วารสารวิชาการ”  คือเอกสารที่รวบรวมการค้นพบและผลงานวิจัยล่าสุดจากนักวิจัยทั่วโลก  โดยแหล่งที่รวบรวมวารสารวิชาการเหล่านี้ไว้ก็คือ “ห้องสมุด”
โครงการ Journal Link จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นเครือข่ายความร่วมมือของห้องสมุดจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ  ในการนำรายชื่อวารสารวิชาการของตนเองบรรจุลงในฐานข้อมูลกลางที่สามารถเข้าถึงได้ด้วยระบบอินเทอร์เน็ต ดังนั้นไม่ว่าวารสารฉบับนั้นจะอยู่ที่ห้องสมุดใด  เพียงเข้าไปค้นหาในเว็บไซต์ก็สามารถรู้ได้ทันที  อีกทั้งผู้ใช้ยังสามารถสั่งผ่านอินเทอร์เน็ตให้สำเนาเอกสารฉบับดังกล่าวเพื่อส่งให้กับตนเองได้อีกด้วย
ความเป็นมา สืบเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศ ตั้งแต่ ปี ๒๕๔๐ ทำให้มีการตัดลดงบประมาณการจัดซื้อวารสารซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัยลง และเนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วไม่มีแผนรองรับวิกฤติการณ์นี้มาก่อน อีกทั้งข้อมูลแหล่งวารสารใน “สหรายการวารสารของประเทศ (Union List of Serials in Thailand)” ซึ่งเคยเป็นดัชนีสำคัญในการชี้แหล่งวารสารในประเทศไทยไม่เป็นปัจจุบัน วิกฤติดังกล่าวจึงส่งผลรุนแรงต่องานวารสารของแต่ละหน่วยงาน ยิ่งกว่านั้นอัตราค่าวารสารก็เพิ่มขึ้นทุกปี
ที่ประชุมคณบดีคณวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยได้เล็งเห็นว่า การใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้คุ้มค่าที่สุด และการเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสในขณะนั้นจึงจะเป็นแนวทางที่จะฟันฝ่าอุปสรรคนี้ไปได้  ดังนั้นเมื่อเดือน เมษายน ๒๕๔๑ จึงได้มอบหมายให้คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้ประสานงานกับห้องสมุดสถาบันศึกษา ๓๑ แห่ง และห้องสมุดสังกัดกระทรวงอีก ๒ แห่ง หาแนวทางแก้ไขปัญหาข้างต้นร่วมกัน และแนวทางนั้นได้นำไปสู่โครงการ Journal Link ซึ่งมีหัวหน้าโครงการ คือ ผศ. ดร. สุกัญญา  สุนทรส  และมีผู้ประสานงานคือ นายประชุม ศุภาลัยวัฒน์ และ นางสาวนงค์ลักษณ์ โชติวิทยธานินทร์
เป้าหมาย ของ Journal Link คือ การแบ่งปันทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่ ให้ใช้ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด โดยการผสมผสานเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่เข้ากับความร่วมมือระหว่างห้องสมุดภายในประเทศ  ทั้งนี้โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้ และความประหยัดของประเทศชาติเป็นสำคัญ
บันได  ๔ ขั้นของ Journal Link สู่เป้าหมายและความยั่งยืนของโครงการคือ
๑.  แก้ปัญหาการขาดแคลนวารสาร
๒.  พัฒนาฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารทีมีในประเทศไทย
๓.  พัฒนารูปแบบการจัดการและการให้บริการสำเนาบทความ
๔.  พัฒนาระบบสมาชิกให้เกิดความมั่นคง และพึ่งพาตนเองได้
นโนบาย  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่สนับสนุนการทำงานโดยมีสมาชิกที่มีเป้าหมายในอันที่จะแบ่งปันทรัพยากรสารสนเทศเหมือนกับ Journal Link เป็นผู้นำเข้าสู่ฐานข้อมูลกลาง  ส่วนงานกลางเป็นผู้ดูแลระบบ และประสานงานให้คำแนะนำกับสมาชิก ควบคุมมาตรฐานของข้อมูล ซึ่งให้บริการแก่ผู้ใช้บน Internet ตลอด ๒๔ ชั่วโมง
พัฒนาการของ Journallink
พ.ศ. 2543 ภายใต้ โครงการวิจัยชื่อ “การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกันระหว่างห้องสมุดภายในประเทศ”  เพื่อทดสอบและประเมินระบบสนับสนุนการบริการระหว่างห้องสมุด รวมทั้งการจัดการด้านบัญชีค่าบริการในระดับการปฏิบัติงานจริง
–  กรกฏาคม 2544 – มิถุนายน 2546  ได้รับความสนับสนุนสถานที่ตั้งสำนักงานกลางจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และงบประมาณวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อศึกษา “การพัฒนาองค์กรและการจัดซื้อทรัพยากรในรูปภาคีความร่วมมือ”
–  พ.ศ. 2547-2553 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติให้ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยีแห่งชาติได้พิจารณาแล้วเห็นว่าโครงการ Journal Link เป็นงานวิจัยที่ประสบความสำเร็จ สมควรสนับสนุนให้ดำเนินงานต่อไปเพื่อเป็นแหล่งสารสนเทศสำหรับบริการวารสาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยและต่างประเทศ จึงมีความยินดีให้ศูนย์บริการสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์เป็นผู้ดูแล และให้สถานที่ติดตั้งคอมพิวเตอร์แม่ข่าย และเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยดีและบริการได้อย่างต่อเนื่อง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยจึงได้ให้ความอนุเคราะห์ด้านงบประมาณในระยะ ปรับเปลี่ยนโครงการ Journal และส่งมอบให้คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินโครงการ Journal Link ต่อไป
–  19 พฤศจิกายน 2553  คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับมอบและดำเนินการโครงการ Journal Link จนถึงปัจจุบัน
สถานภาพปัจจุบัน
ข้อมูลของ Journal Link
–  ข้อมูลวารสารจากโครงการ Union List of Serials in Thailand (UNIO) ของคณะทำงานรวบรวมรายชื่อวารสารในประเทศไทย ภายใต้คณะอนุกรรมการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย
–  ข้อมูลวารสารสาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ของศูนย์ประสานงานวารสารสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย
–  บรรณารักษ์แต่ละห้องสมุดได้สมัครเป็นสมาชิกเข้ามาทาง Internet  แล้วเพิ่มเติมปรับปรุงแก้ไขข้อมูลวารสารของห้องสมุดตนเอง
–  Journal Link Software
**** ใช้โปรแกรมฐานข้อมูล  Microsoft Access  2007
***** ภาษาของ script สำหรับนำเสนอข้อมูลบนเว็บคือ ASP
*****ระบบปฏิบัติการของเครื่องเซิฟเวอร์คือ  Windows 2003  Server
Journal Link”  เป็นฐานข้อมูลวารสารในประเทศไทย เกิดจากความร่วมมือกันจากห้องสมุด 221 แห่ง
ฐานข้อมูลองค์ความรู้เกษตรไทย
เป็นฐานข้อมูลการเกษตรที่รวบรวมบทความและงานวิจัยสาขา เกษตร ประมง ป่าไม้ สัตวแพทย์ศาสตร์ วิทยาศาสตร์การอาหาร อุตสาหกรรมการเกษตร วิศวกรรมเกษตร เศรษฐศาสตร์เกษตร สิ่งแวดล้อมเกษตร ส่งเสริมเกษตร และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร โดยรวบรวมข้อมูล จาก หนังสือ วารสาร วิทยานิพนธ์ เอกสารการประชุมสัมมนา รายงานการค้นคว้าวิจัย ที่ตีพิมพ์ในประเทศไทยเป็นฐานข้อมูลที่ ให้รายละเอียดทางบรรณานุกรม และบทคัดย่อเป็นภาษาไทย รวบรวม ข้อมูลตั้งแต่ ปี 2523 – ปัจจุบัน ดำเนินการโดย ศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ
สรุป Journal Link เป็นฐานข้อมูลสำหรับวารสารวิชาการ รวมถึงวิทยานิพนธ์ และเอกสารการประชุมต่างๆ ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และการเปิดบริการให้กับสถาบันวิชาการอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียนในอนาคต  สำหรับอาจารย์ นักศึกษา หรือผู้สนใจค้นหาวารสารวิชาการจากห้องสมุดทั้งหมดในประเทศไทย ได้ที่  http://www.journallink.or.th
ข่าวดี  ขอประชาสัมพันธ์ ห้องสมุดที่สนใจสามารถสมัครเป็นสมาชิกใหม่ได้ที่ http://www.journallink.or.th/apply.asp
หรือแจ้ง ข้อมูลไปที่ e-mail : preeyaporn.r@chula.ac.th
พี่หมู  หรือคุณปรียาพร   ฤกษ์พินัย  ผู้สานต่อโครงการ Journal Link ให้ก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น
ในส่วนของหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ได้เป็นสมาชิกใหม่ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง Journallink
เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2542 โดยมีแกนนำเข้าร่วมโครงการ Journal Link คือหัวหน้างาน  (สมัยนั้น)  พี่ปอง และผู้ร่วมงานที่ key ข้อมูล คือ พี่ธณิกุล  และข้าพเจ้า
วารสารที่ Key ส่วนใหญ่เป็นวารสารภาษาต่างประเทศ  มีรายการมากกว่าหนึ่งพันรายการ และวารสารที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัยศิลปากร ทุกชื่อ และยินดี เพิ่มรายการวารสาร ฐานข้อมูล Jounrnal Link  ขอให้ ฐานข้อมูล Journal Link ยังคงเป็นที่ต้องการของ (ฝ่ายงานบริการ และมีความสุขในการใช้นะจ๊ะ)  ถ้ามีโอกาส ก็มาช่วยกัน Key ข้อมูลด้วยก็ได้นะ งานจัดหายินดีจ้า

4 thoughts on “JOURNAL LINK

  • เคยเป็นคนทำงาน Union List of Serials in Thailand ทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ กว่าจะได้เป็นเล่ม สาหัสมากมาย..บรรณารักษ์รุ่นเล็กๆ อาจยังไม่เคยเห็นหน้าตา ขอพี่นกดูไ้ด้นะจ๊ะ จะำได้เป็นความรู้ว่าก่อนจะเป็น Journallink นั้นเป็นมาอย่างไร

  • ขอคารวะเพิ่งรู้นะว่าอยู่เบื้องหลัง Union List นี่เอง พี่ค่ะ แล้ว รายชือวารสารวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ได้ร่วมจัดทำหรือไม่ เพราะ Union List แท้ๆ ที่ทำให้หนูสอบได้ ทุกวันนี้เป็นหนี้บุญคุณของ Union List ไม่เคยลืมเลย ว่าวารสารชื่อประหลาดๆ หาได้จาก Union List เมื่อก่อนเท่าที่สังเกตุ เคยเห็น ถ้าหาจาก Union List ไม่ได้ พี่ๆ เขาจะขอไปที่ SEMIC ค่าบริการครั้ง ๒๐ บาท

  • ตอนนี้ถ้าหาไม่เจอจาก Journallink ก็ขึ้นไปใช้บริการของคณะทำงานบริการนิเทศ..เป็นความร่วมมือในการตรวจสอบหาสิ่งพิมพ์ทั้งที่เป็น printed และ online ให้ ถ้ายังไม่มีอีก ก็ขอไปที่ SEAMIC เหมือนเดิม ผ่าน สำนักหอสมุดและคลังความรู้ มหิดล รายการละ 250 บาทค่ะ
    ดังนั้นฝากหัวหน้าเวรด้วยจ้ะว่า..หากได้รับคำขอจากผู้ใช้บริการให้หา article ล่ะก้อ..ไม่ว่าอย่างไร..ต่อให้ผู้ใช้บริการแจ้งว่า ได้ลองค้นเองแล้ว ยังไง ๆ ก็หาไม่ได้..ในประเทศไทย..ให้ฟังหูไว้หนึ่งหู แล้วบอกผู้ใช้บริการว่า ให้พี่ลองหาให้ก่อน แล้วขอ email ผู้ใช้บริการไว้ด้วย จะแจ้งผลทาง mail

  • ขอบคุณมากๆ ค่ะ สำคัญมากนะทุกคน เพราะเรานอกจากทำงานในหน้าที่ประจำกันแล้ว สิ่งแวดล้อมรอบๆ ก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตเหมือนกัน พี่พัชหนูรู้แล้ว ถ้าได้รับ Request ก็ตอบ Ok. & Yes และก็ Send to….PeePat

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร