งานวิเคราะห์หนังสือกับบรรณารักษ์(ใหม่)




น้องช่วยน้อง
น้องช่วยน้อง

พี่ช่วยน้อง
พี่ช่วยน้อง

การวิเคราะห์หนังสือ หมายถึง การนำหนังสือมาอ่าน สรุปใจความ พิจารณาออกมาแล้วให้เป็นหัวเรื่องที่ครอบคลุมเนื้อหาในเล่ม จากนั้นนำมาให้เลขหมู่  เลขผู้แต่ง เพื่่่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการทำหนังสือก่อนนำออกให้บริการแก่ผู้ใช้
ข้าพเจ้า หนึ่งในบรรณารักษ์ที่กำลังฝึกงานวิเคราะห์หนังสือร่วมกับเพื่อนๆ อีก 2 คน ได้รู้รสชาติของการที่กว่าจะได้หนังสือแต่ละเล่มมันเป็นยังไง !!!
การฝึกงานในระยะแรกนี้ ใช้เวลา 2 สัปดาห์ โดยจะให้เราฝึกวิเคราะห์หนังสือ หรือเรียกกันว่าการ Cataloge หนังสือนั่นเอง เริ่มแรกพี่เลี้ยงจะให้พวกเราฝึกปฏิบัติให้เลขหมู่ และลงรายละเอียดของหนังสือ หรือ ลง Tag ใน Worksheet ไปก่อน โดยมีผู้กำกับการแสดงเป็นพี่เลี้ยง 2 คน คือ พี่หนึ่ง กับพี่หนูเขียน ผู้ชำนาญ อาบน้ำร้อนงานด้านวิเคราะห์ฯ มาก่อน เป็นผู้ดูแล และให้คำปรึกษา
บรรยากาศการฝึกงานช่วงนี้ เป็นไปแบบบอกไม่ถูก มีทั้งสุข ทุกข์  มึน งง ไปตามๆกัน หากหนังสือเล่มไหนให้เลขหมู่ และทำรายการได้ อาการดีใจก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับใบหน้าอันสดใส แต่หากเล่มไหน ทำแล้ว ทำอีก ก็หาทางออกไม่ได้ นั่นแหละ ความโรยราก็ย่างกรายเข้ามาบนสีหน้า เกิดบรรยากาศเงียบ! อึมครึม แต่สุดท้ายทุกอย่างก็จะผ่านไปได้ด้วยดี เพราะทุกคนจะช่วยกันถาม- ตอบ กันเองบ้าง ถามพี่เลี้ยงบ้าง เดาบ้าง ตามแต่ว่าปัญหาใครหนัก เบากว่ากัน
เวลาผ่านไป และผ่านไป วันศุกร์นี้ก็จะครบ 2 อาทิตย์แล้วสำหรับการฝึกปฏิบัติแบบยกทีม งานCataloge หนังสือ สัปดาห์หน้าเป็นการเริ่มต้นฝึกเดี่ยวแล้วจะเป็นเช่นไร 😥
โปรดส่งกำลังใจและให้แรงเชียร์ด้วยนะคะ 😯
ด็กหญิงในชั้นเรียน Class Room นี้ ได้แก่
1.ด.ญ.ญา
2.ด.ญ.แยม
3.ด.ญ.เกษร  และ
4.ด.ญ.หญิง นักเรียนแลกเปลี่ยนจาก ม.สุรนารี
ติดตามภาระกิจภายในบ้าน AF ได้ใหม่ ใคร? จะถูกคัดออก และใคร? จะได้ไปต่อ ไว้คราวหน้านะจ๊ะ 😆 😆 😆

6 thoughts on “งานวิเคราะห์หนังสือกับบรรณารักษ์(ใหม่)

  • พี่ขอส่งกำลังใจมาให้บรรณารักษ์ใหม่(คนเก่าๆทั้งนั้น)ทุกคน ยึดคติว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จจะต้องเป็นของเรา สู้สู้ไว้ วันใดทำสำเร็จ ทำได้ด้วยตัวเอง เราจะภูมิใจและคิดได้ว่า เราก็ทำได้…..

  • ขอบคุณพี่จุ๋มที่ให้กำลังใจน้องๆ ในฐานะ ผอ.หลักสูตร อันแสนจะเร่งรัดขอเอาใจช่วยน้องๆ ทุกคนให้ผ่านด่านไปให้ได้… ตอนนี้เราทำหน้าที่เป็นกามเทพแผลงศรระหว่างหนังสือ กับเลขหมู่กันจ้า ไว้อาทิตย์โน้นคงมีเวลาไปเยี่ยมเยือนและดูแลนะ เพระาชา่วงนี้พี่กำลังปั่นงานแบบหัวหมุน จนรับทานข้าวไม่ลง ผ่ายผอมลงไป สู้ๆทุกคนจ้า ท้อได้แต่อย่าถอย

  • ขอบคุณกำลังใจที่แสนดีจากพี่ๆค่ะ ด่านหินนี้ ทุกอย่างต้องผ่านพ้นๆไปได้ด้วยดี หนูเชื่อว่าอย่างนั้น แต่ก่อนอื่นก็ต้องของม ก้มก้ม กันไปก่อนซักระยะ สังเกตุบรรณารักษ์ฝึกหัดเหล่านี้ได้ว่าใครเป็นของแท้ต้องมีสิวสาวขึ้นที่ใบ หน้าคนละ เม็ด สองเม็ด แป้ง ลิป ไม่ต้อง อิอิ

  • น้องญาสู้ ๆ ชู สองนิ้ว (สโลแกนพี่สุนีย์ยืมก่อน)อย่างน้อยๆ พวกเราก็มาทบทวนความจำในการจัดหมวดหมู่หนังสือ ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of congress Classification System) และมีเครื่องมือทำมาหากิน คู่มือฉบับออนไลน์ http://www.loc.gov/catdir/cpso/lcco
    อย่างน้อยก็รู้ว่า มี 20 หมวดใหญ่สัญญลักษณ์ที่ใช้แทนเนื้อหาหมวดหมูต่าง ๆคือ ตัวอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ A-Z แทนหมวดหมู่ใหญ่ (ยกเว้น IQWXY) ผสมเลขอารบิค ตั้งแต่ 1-9999 และอาจมีจุดทศนิยมเพิ่มเติม เป็นตัวแทนเนื้อหาในหมวดย่อยลงไป ถ้าทำก็ได้รู้ สนุกดี เป็นการทบทวน พอครูสอนก็อ๋อกัน แต่ตอนแรกทำผิด พอครูเฉลย อ๋อทันที ไม่น่าผิดเลยเรา รู้นะ ใครแอบยิ้มเวลาเปิดคู่มือให้เลขหมู่ เพราะทุกคนต้องพยายามหาให้พบ ว่าหนังสือมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องอะไร เป็นกำลังใจให้เธอ …..ทุกคน

  • ไม่ได้เข้ามาเยี่ยมชมเสียหลายวัน ยังงงๆอยู่ ได้เห็นรูปดาราก็วันนี้แหละ ขอขอบคุณทุกกำลังใจที่มีให้ ขอบคุณพี่ๆน้องๆผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชา catalog ทุกๆท่านค่ะ

  • ย้ำนักย้ำหนา ก่อนเป็นบรรณารักษ์ตอบคำถามชวยการค้นคว้าเก่งๆ(รุ่นเก่าที่ยังไม่มีคอมฯช่วยอย่างทุกวันนี้) นอกจากคุณสมบัติเฉพาะตัวของบรรณารักษ์ผู้ให้บริการแล้ว ก็ประเด็นนี้แหละคือ ต้องจดและจำหัวเรื่อง ชื่อเรื่องของหนังสือ ลักษณะรูปเล่มของหนังสือไว้ เพื่อช่วยผู้ใช้บริการ ก็เพราะ1)การแคตตาล็อคสมัยก่อน ไม่ได้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเฉกเช่นเดียวกับสมัยนี้ ภาษาอังกฤษก็ต้องอาศัย World catฯ 2)จนหนังสืออกบริการแล้ว บัตรยังไม่ได้เรียง 3)ยังไม่ได้ Catฯ ต้อง Catฯ หนังสือซื้อก่อนหนังสือรับบริจาค ดังนั้นจึงต้องพยายามจำและท่องหัวเรื่องเอาไว้ แถมต้องมีมิตรที่ดีต่อบรรณารักษ์ฝายวิเคราะห์ โดยเร่ง Catฯ หน่อยนะ และก่อนส่งขึ้นชั้นขอให้ผ่านตาข้าพเจ้าด้วย ปัจจุบันน้องๆลูกๆหลานๆรุ่นใหม่ ส่วนใหญ่ชอบงานบริการ แจ้งผู้ใช้ค้นโดยใช้ Word เพราะง่ายดี โดยลืมไปว่าเราเป็นบรรณารักษ์ ต้องหาได้ตรงและเร็วกว่าผู้ใบริการ ขอเปนกำลังใจให้นะ สู้ สู้ ลูก

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร