จริยธรรมผู้ใช้สารสนเทศ

เรื่องนี้อาจจะไปคนละมุมกับ เรื่อง จริยธรรมนักบริการสารสนเทศที่ษรได้สรุปเอาไว้ ซึ่งเป็นเรื่องที่พวกเราที่เป็นนักบริการสารสนเทศเข้าใจอยู่ แต่ในทางปฏิบัติจริง ๆ จากประสบการณ์ในการให้บริการ ปัญหาที่พบกลับไม่ใช่เราที่เป็นนักบริการสารสนเทศ แต่เป็นด้านผู้ใช้บริการสารสนเทศมากกว่า ก็อาจเป็นเพราะเทคโนโลยีสารสนเทศอีกนั่นแหละ ที่ผู้ใช้นำไปใช้ในทางที่เกิดประโยชน์แต่ตนเองฝ่ายเดียว  หรือแลกผลประโยชน์กันเช่น
1. การมี CD วิทยานิพนธ์ให้บริการ  การมีฐานข้อมูลที่เป็นสาธารณะ ให้คนไทยได้ใช้กันอย่างอิสระ  ซึ่งจุดมุ่งหมายเพื่อการให้โอกาสในการต่อยอดความรู้ ศึกษาแนวทางการวิจัย แต่กลับเป็นว่า ผู้ใช้สารสนเทศส่วนนี้บางคน ใช้แบบไม่มีจริยธรรม นำข้อมูลไปใช้โดยไม่อ้างถึง บางคนทำแค่เปลี่ยนกลุ่มตัวอย่างทดลอง เปลี่ยนชื่อหน่วยงาน..
2. ความสามารถของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น  การแปลงไฟล์  การ copy and paste
เคยอ่านความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานบรรณารักษ์สมัยใหม่คนหนึ่งเขียนว่า เราไม่ควรนำเอาแง่มุมที่ไม่ดี ของผู้ใช้บริการมาพูดถึง (ผิดจริยธรรม) แต่บางครั้งเราได้พบเจอบ่อยเข้า และยิ่งนานวันยิ่งพบว่า ผู้ที่ใช้สารสนเทศอย่างไม่มีจริยธรรมมีมากขึ้น และไม่รู้สึกว่าตนทำไม่ถูก  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเราผู้ให้บริการสารสนเทศตั้งใจให้ความรู้เรื่องการใช้สารสนเทศ  ผู้รับบริการก็รู้สึกดีใจที่เห็นหนทาง แต่กลับเป็นหนทางในการหาเงิน..มันรู้สึกไม่ดีเลย
ก่อนที่จะกลายเป็น blog บ่น จึงต้องนำเสนอจริยธรรมการใช้สารสนเทศซะหน่อย (สรุปมาจาก กฎหมายและจริยธรรมสารสนเทศ ของ ดร.วราภรณ์ วนาพิทักษ์ ของ มสธ.  http://www.stou.ac.th/Schools/Sla/upload/13201_U15.pdf)
1.ข้อมูลที่นำไปใช้ ต้องมีความถูกต้อง แม่นยำ  และมีความครบถ้วนของข้อมูล
2.ข้อมูลที่นําไปเผยแพร่ จะต้องไม่ถูกแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ต่างจากข้อมูลที่แท้จริง
3. เมื่อมีการคัดลอกข้อความ รูปภาพ หรือ จากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ต้องบอกแหล่งที่มาของข้อความ รูปภาพหรือสัญลักษณ์ที่สื่อ
ความหมายนั้น  และการคัดลอกดังกล่าว ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาวิจัย  มิใ่ชการกระทําเพื่อแสวงหาผลกำไร
4.ไม่นําข้อมูลสารเทศที่จัดเก็บไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ในทางที่มิชอบ
5.ไม่เผยแพร่ข้อมูลที่อาจกระทบต่อสิทธิส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล
ใครอยากอ่านละเีอียด ตามไปอ่านที่ link ที่ลอกมาให้นะคะ

One thought on “จริยธรรมผู้ใช้สารสนเทศ

  • พี่พัช จริงๆ แล้วผู้ที่อ้างอิงจะต้องเข้าถึงแหล่งที่เป็นต้นฉบับ โดยคัดลอกบอกแหล่งที่มา แต่ทุกวันนี้ อ้างกันไปอ้างกันมาทำให้ข้อมูลคลาดเคลื่อน ซึ่งเวลาอ้าง ต้องไปที่ต้นฉบับของผู้เขียน คือตรวจสอบหลักฐานว่า เป็นจริงอย่างที่อ้างกันหรือไม่ เห็นว่าต้องมีการควบคุม การอ้างอิงรายการทางบรรณานุกรม ข้อมูลถึงจะน่าเชื่ื่อถือ เราก็พยายามจะบอกผู้ใช้น่ะ ว่าต้องอ่านแหล่งที่เป็นปฐมภูมิ และจะต้องให้ credit กับผู้เขียนทุกครั้ง เราก็มีจริยธรรมของเราเองเหมือนกัน (Ethic)

Leave a Reply

Tags

blog CONSAL KPI PULINET การจัดการความรู้ การดูแลสุขภาพ การทำงาน การท่องเที่ยว การบริการ การปฏิบัติงานล่วงเวลา การประชาสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาบุคลากร การลงรายการ การศึกษาดูงาน การอ่าน การเรียนออนไลน์ กิจกรรมสำหรับเด็ก กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมห้องสมุด ความสุข ค่ายห้องสมุด งานบริการ ธรรมะ นวนิยาย นักเขียน บรรณารักษ์ บริการชุมชน ประกันคุณภาพ ภาพถ่าย ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ วัด วันสำคัญ วารสาร สัมมนา สุขภาพ หนังสือ หนังสือบริจาค หนังสือและการอ่าน หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ ห้องสมุด ห้องสมุด 24 ชั่วโมง อาหาร