Tag: การอ่าน

พี่ไม่หลับ ไม่นอน

ยามใดที่พี่หลับ พี่ก็จะหลับสนิท เท่ากับไม่หลับไม่นอน สมัยก่อนหากเกิดอาการแบบนี้จะอ่านหนังสือ ซึ่งพี่เรียกว่า ยายนอนหลับ อ่านไปสองสามหน้าก็ไปเฝ้าพระอินทร์ พออายุมากขึ้น  กลับขี้เกียจไปเฝ้าพระอินทร์ อ่านได้เรื่อย ๆ และที่โปรดปรานคือ อ่านในออนไลน์ทั้งตัวเนื้อหา รวมถึง comment ต่างๆ อ่านทุกเรื่อง ไม่ว่าจะดราม่า บวกหรือลบอย่างไร เพราะคิดว่าเป็นการฝึกจิตและทำให้เข้าใจมนุษย์

พี่ไม่ค่อยรู้ตัวกระทั้งมีกลุ่มไลน์แอดมึน แล้วพี่เจออะไรก็ชอบใส่ลงไปเผื่อ โดยไม่ถามใครๆ 55555+++ แรกๆมีคนตอบ จนเกรงใจกับความเยอะของตัวเอง บอกในกลุ่มว่าไม่ต้องตอบแค่แชร์ทิ้งไว้ เพราะกลัวลืม กระทั่งวันหนึ่งมีคนทักว่านอนกี่โมง 55555+++++

Read More

กูเกิ้ลภาคมนุษย์

ดิฉันแอบให้สมญาบรรณารักษ์ว่าเป็น “กูเกิ้ลภาคมนุษย์” เพราะอะไรๆ ก็ค้นได้โหม้ด…. อันนี้ชักไม่แน่ใจละว่าจริงมั้ย?
 
เหตุผลคือตอนดิฉันเข้ามาทำงานที่นี่ในปี พ.ศ. 2530 สมัยนั้นถามอะไรๆ พี่ๆ ก็จะตอบ และจะเดินไปค้นหนังสือหยิบมาให้อ่าน พอเราโตขึ้นจารกที่ทำงานอีกหน่อยจากผู้ถามก็จะกลายเป็นผู้ตอบ “สมัยก่อนเวลาคนมาถาม จะสนุกมาก เพราะทำให้เราได้ค้นๆๆๆๆๆ พี่กลัวตอบไม่ได้ จึงงกอ่านหนังสือ จดคำถามคำตอบไว้รอบตัว สมัยนี้หากกูเกิ้ลหายไปสักวัน จะเป็นเยี่ยงไร”  เขียนใน FB เมื่อ 9 Oct. 2018
Read More

ถกเถียงกับ “วันละเล่ม”

ดิฉันชอบอ่าน “วันละเล่ม” ที่พวกเราช่วยกันทำตั้งแต่ปลายปี 2564 ภารกิจน้ผ่านกระบวนการคิดเพื่อลงมือทำกันมากมาย ทั้งในเรื่องของเหตุผลที่ทำ การคัดหนังสือ การเลือกข้อความ การเขียนข้อมูล การนำเสนอ รวมถึงกระบวนการประเมินผล ทุกขึ้นตอนมีเรื่องราว มีวิธีคิด และมีคำตอบ แน่นอนว่าผู้รับผิดชอบมีบทเรียน มีวิธีการและแน่นอนว่ามีองค์ความรู้ให้ได้คิดต่อไปและต่อไป เรื่องนี้ละเอาไว้ก่อนเพราะคงยาววัดได้ว่าจากเบตงถึงดอยอินทนนท์

เรื่องที่จะเล่าตามชื่อของ blog คือ ถกเถียงกับตัวหนังสือ เพราะดิฉันจะอ่านทุกข้อความที่โพสต์แล้วแชร์ไปขึ้นสเตตัส พร้อมทั้งเขียนแคปชั่นของตัวเองว่าคิดเห็นอย่างไรกับข้อความนี้ ในเพื่อนๆ ชินแล้วบอกว่า คงไม่รู้จะคุยกับใคร เพราะไม่ใครให้คุยจึงไปถกเถียงกับตัวหนังสือแทน

Read More

การอ่าน ด้วยเทคนิค “UseClark”

การอ่าน มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะการอ่านในแต่ละครั้งเราต้องถ่ายทอดข้อมูลทั้งหมดที่อ่านได้ หรือนำเสนอข้อมูลที่อ่านในเวลาต่อมาได้ กรณีทำไม่ได้ถือว่ายังไม่ประสบความสำเร็จจากการอ่าน เราสามารถนำข้อมูลไปใช้งานได้ก็ต่อเมื่อเราซึมซับและวิเคราะห์ข้อมูลให้เข้าใจก่อน

หลักการประมวลผลข้อมูลมี 3 ขั้นตอน  1) การซึมซับ 2) การวิเคราะห์ และ 3) การนำความรู้ไปใช้  สิ่งสำคัญในการอ่านคือ สมาธิ ถ้าไม่มีสมาธิก็จะไม่เข้าใจเรื่องที่อ่าน และไม่สามารถประมวลผลข้อมูลได้ถูกต้อง จำข้อมูลได้ไม่ดี ดังนั้น สมาธิ ความเข้าใจ ความจำ เป็นสิ่งที่เกี่ยวโยงกัน

Read More

อ่านอะไร

เมื่อเรียนเพื่อเป็นบรรณารักษ์  และทำงานในห้องสมุด ผู้คนจะคิดว่าเรารักการอ่าน แต่ความจริงแล้วอาจหาเป็นเช่นนั้นไม่

สำหรับพี่การอ่านเป็นนิสัย เพราะสมัยก่อนไม่มีอะไรจะทำ และยังเป็นเรื่องที่ต้องทำ เพราะมีหน้าที่ต้องอ่านหนังสือให้อาม่า (ย่า) ฟังก่อนนอนทุกคืน ถามว่าเบื่อมั้ย ก็เบื่อบ้างไม่เบื่อบ้าง เพราะใจอยากไปดูมังกรหยกจะแย่ และสมัยนั้นไม่มี เฟสบุค ทวิตเตอร์ ไลน์ อินสตราแกรม ฯลฯ จึงว่างแหละ  ต้องขอบคุณบรรพบุรุษจริง ๆ ที่มีหนังสือให้เราอ่านทุกวัน จนทำให้เราติด ถึงขนาดแบบอ่านด้วยการปิดไฟแล้วจุดตะเกียง พอสัปหงกผมไหม้ไปเป็นแถบ จนแม่ต้องสั่งห้ามว่าอย่าทำแบบนั้น อยากอ่านก็อ่านไป แฮ่…

Read More

การอ่านให้เก่ง

เป็นชื่อเรื่องของหนังสือเล่มหนึ่งที่น่าติดตาม “การอ่านให้เก่ง ” มาดูกันว่าเราควรทำอย่างไรกันบ้างค่ะ

การอ่านของคนเรามีอยู่สองอย่าง คือ อ่านโดยมีจุดประสงค์ กับอ่านไปเรื่อย ๆ ตามใจชอบ ถ้าเราอ่านได้ทั้งสองอย่างก็จะเกิดผลดี อ่านโดยมีจุดประสงค์ เช่น ต้องการหาความรู้มาประกอบการเรียน ต้องการหาคำตอบในบางอย่างบางเรื่องที่อยากรู้  ส่วนอ่านไปเรื่อย ๆ ตามใจชอบนั้น ถ้าอ่านด้วยความตั้งใจก็จะพบเนื้อหาสาระที่ช่วยให้เราได้คำตอบที่ต้องการ

 

อ่านเก่ง หมายความว่า อ่านได้คล่องแคล่ว รู้ความหมายของสิ่งที่อ่าน สรุปความคิดรวบยอดได้  ส่วนอ่านให้เก่ง หมายความว่า นอกจากอ่านเก่งแล้วยังสามารถนำเนื้อหาสาระที่ได้จากการอ่านไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและแก่ผู้อื่น ทำให้คิดเก่ง และทำงานเก่งด้วย

Read More