Author: Napatrapee Prajummuang

ทั้งชำรุดและหาย

หนังสือหาย ชำรุด เปียกปอน คราบเปื้อน ฉีกขาด จากการยืม จะมีการคิดค่าเสียหายตัวเล่มของหนังสือแตกต่างกันไป พิจารณาโดยงานบริการยืม-คืน หรือหัวหน้างาน และกรอกลงแบบฟอร์ม ซึ่งมีการรวบรวมส่งให้เดือนละครั้ง

งานจัดหาฯ ทำหน้าที่ในการดำเนินการตัวเล่ม record เมื่องานบริการพิจารณาตัดสินตัวเล่มตามขั้นตอนที่ได้ระบุแต่ละเคสลงแบบฟอร์ม ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาข้อสงสัย แต่หากเกิดข้อสงสัยได้มีการแลกเปลี่ยนสอบถามเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานโดยตรง

กรณีหนังสือหาย/ชำรุด มี 2 แบบ คือ การชดใช้เป็นตัวเล่มและชดใช้เป็นเงิน กรณีที่ชดใช้เป็นตัวเล่ม เมื่องานจัดหาได้รับเล่มแล้วจะต้องตรวจสอบชื่อเรื่อง เลขหมู่ บาร์โคดให้ตรงกับตัวเล่มที่แจ้ง จากนั้น note ข้อมูลว่าเล่มนี้เกิดปัญหาอะไร แจ้งและงานจัดหาดำเนินการเมื่อวันที่เท่าไหร่ หรือกรณที่เล่มปีพิมพ์ต่างกับตัวเล่มที่ชำรุด/หาย ตัวเล่มที่ซื้อชดใช้จะต้องปีเดียวกันหรือใหม่กว่าเท่านั้น โดยต้องดำเนินการขึ้นระเบียนใหม่โดยแจงเหตุผลที่ขึ้น หากหนังสือเล่มนั้นหาไม่ได้จริง ๆ หรือมีการชำรุดบางจุด จะมีเคสที่ต้องถ่ายเอกสารชดใช้

Read More

เครื่องมือที่ใช้กับวันละเล่ม

เมื่อวันละเล่มเข้าสู่ปีที่ 2 หัวหน้าหอฯ ให้แจงกระบวนการทำวันะเล่ม และเห็นถึงกระบวนการทำบางช่วงใช้เวลาค่อนข้างเยอะ ซึ่งเดิมวันละเล่มมีผู้รับผิดชอบสองคน คนทำ content กับ คนทำภาพ ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง โดยแบ่งหน้าที่ คน quote ข้อความ เพื่อนำความข้อความที่น่าสนใจมาประชาสัมพันธ์ คนลงรายละเอียดตัวเล่ม และบรรณานุกรม เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ใช้บริการที่สนใจมาหยิบยืมตัวเล่มไปอ่าน หรือหอบกลับยิ่งชื่นใจ รวมถึงแหล่งข้อมูลอ้างถึงที่ถูกต้อง คนทำภาพ เพื่อผู้ใช้บริการเข้าถึง หรือสนใจเนื้อหาจากภาพปกหนังสือ และคนตรวจสอบการลงข้อมูล การพิมพ์ และคอนเฟิร์มคนทำภาพอีกครั้ง

Read More

ทำดรรชนีวารสาร

การลงรายการดรรชนีวารสาร เป็นหนึ่งภารกิจการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ cataloger การปฏิบัติลงรายการนั้นไม่ยาก (ง่ายกว่าหนังสือเยอะ) ^_^ ขั้นตอนการทำ หลักการแบบเดียวกับหนังสือ เพียงดรรชนีวารสารไม่ต้องให้หมวดหมู่ ทำให้สะดวกรวดเร็วต่อการคิดวิเคราะห์มากขึ้น ในส่วนที่มีความแตกต่างกับการลงรายการหนังสือ คือ ดรรชนีวารสาร ใช้ tag773 ลงรายการข้อมูลตัวเล่มวารสาร ได้แก่ ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ วัน เดือน ปี เลขหน้า ภาพประกอบ ตาราง แผนที่ แผนภูมิ

Read More

คนมีสิทธิ์เท่านั้นจะเข้าใจ

ลูกสาวกำลังศึกษาอยู่ชั้นประถม เป็นครั้งแรกที่ได้รับสิทธิ์พิเศษเป็นของกินจากทางโรงเรียน 5555 ของโปรดน้องด้วยจึงตื่นเต้นมากหน่อย โรงเรียนจัดกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่านให้เด็ก ๆ ได้รับการสนับสนุน “โครงการส่งเสริมรักการอ่าน เดอะ พิซซ่า คอมปะนี ชวนน้องอ่าน” เพื่อสนับสนุนให้เด็กไทยรักการอ่าน เพราะการอ่านเป็นบ่อเกิดปัญญา ในการได้สิทธิ์นั้นทางครูประจำชั้นจะให้นักเรียนอ่านและเขียนบันทึกเรื่องที่ตนเองอ่าน เมื่อการอ่านจบตามที่กำหนด ก็จะได้รับคูปองรับประทานพิซซ่าฟรีสำหรับเด็กน้อยคนเก่ง เป็นตัวเสริมแรงกระตุ้นให้นักเรียนรัก สนใจการอ่าน ผลลัพธ์ที่เห็นน้องมีความสนใจหยิบ หาหนังสือภายในบ้านมาอ่านเอง ถ้าพบคำที่อ่านไม่ได้น้องจะมาถาม และมีการจดบันทึกคำที่อ่านไม่ได้เพื่อมาสอนเพิ่มทักษะการอ่านกันอีกครั้งภายในครอบครัว

Read More

วันละเล่มByพี่พร้อม

วันละเล่มByพี่พร้อม เป็นการแนะนำหนังสือใหม่ของหอสมุดฯ โดยการนำข้อความที่น่าสนใจของหนังสือ มาแนะนำ โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านทางโซเชียล ซึ่งวันละเล่มByพี่พร้อม เริ่มทำการประชาสัมพันธ์ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 เดิมทีหนังสือที่นำมาแนะนำจะเป็นหนังสือภาษาไทย แต่ปัจจุบันได้เพิ่มการแนะนำหนังสือภาษาอังกฤษ ได้เริ่มประชาสัมพันธ์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ผู้แนะนำหนังสือภาษาอังกฤษ น้องป๊อป บรรณารักษ์ใหม่ของหอสมุดฯ ส่วนเรามีหน้าที่แนะนำหนังสือภาษาไทยและรวบรวมเนื้อหา จัดวันเพื่อประชาสัมพันธ์ระหว่างหนังสือภาษาไทย และภาษาอังกฤษ อีกทั้งตรวจสอบความถูกต้องของข้อความ การเขียนบรรณานุกรม รวมถึงได้คำแนะนำจากหัวหน้าหอสมุดฯ อยากให้เพิ่มเติมบรรณานุกรม และคำอธิบายเนื้อหาเพื่อช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้บริการ

Read More

อักษรแรกของชื่อจริง

ทุกสิ้นปีทางหอสมุดฯ จะมีการจัดเลี้ยงงานส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ โดยนิมนต์พระเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลแก่หน่วยงาน แต่ 2-3 ปีนี้ ระบาดหนักไปด้วยโรคระบาดโควิด-19 งานทำบุญเลี้ยงพระจึงต้องงดจัด และช่วงเดือนธันวาคม ได้มีการพูดถึงเรื่องการจับฉลาก และน้องจาได้เล่าว่า ที่บ้านน้องเล่นแบบนี้ คือ ของขวัญจะต้องเป็นของที่ขึ้นด้วยอักษรแรกของชื่อ จึงเป็นไอเดียในการเล่นของชาวหอสมุดฯ ก่อนส่งท้ายปีวัวค่ะ

Read More

เล่านิทานที่สวนพี่พร้อม

วันที่ 29 ธันวาคม 2564 ทีมงานพี่พร้อมมีนัดถ่ายทำ “เล่าเรื่องหนังสือในสวนพี่พร้อม: ตอนอ่านข้ามปี” ด้วยความที่สวนพี่พร้อมเป็นสวนขนาดเล็ก อยู่ด้านหลังอาคารหอสมุดฯ สวนแห่งนี้เป็นสถานที่รวมตัวของบุคลากรที่ชื่นชอบต้นไม้ มีทิศทางลมที่เย็นสบาย จึงเห็นว่าพื้นที่เหมาะแก่การจัดกิจกรรมหลากหลาย และครั้งนี้พี่พร้อมนำล่องโดยนำมาจัดกิจกรรมสำหรับคนรักการอ่าน

สำหรับกิจกรรมเล่าเรื่องหนังสือในสวนพี่พร้อมจัดช่วงสิ้นปี ทีมงานพี่พร้อมจึงมีความคิดว่า เรื่องที่จะมาพูดคุย สนทนากันแบบสบายๆ สไตล์พี่พร้อมเป็นเรื่องอะไรดี และเรื่องที่สรุปมาเป็นเรื่องเกี่ยวกับปีนักกษัตริย์ ซึ่งฟังจากชื่อเรื่องแล้วส่วนตัวคิดว่า จะเล่าชิว ๆ อย่างไร แต่ความที่พี่พร้อมของเรามากความสามารถ และความรู้รอบด้าน จึงทำให้การเล่าเรื่องราวได้น่าสนใจ สนุก เข้าใจง่าย ทั้งเรื่อง

Read More

โรคซึมเศร้ากับแสงแดด

ปัญหาชีวิตที่พบเจอ หนักเบาแต่ละคนไม่เท่ากัน เรื่องเดียวกันระดับความรู้สึกยังต่างกัน เราอาจรู้สึกว่าแค่นี้ แต่กับอีกเขาอาจรู้สึกแย่มาก ซึ่งเรื่องเหล่านี้มีหลากหลายปัจจัยที่กระตุ้นให้รู้สึก นึกคิด ระดับความคิดก็แตกต่างกัน ส่วนตัวได้พูดคุยกับคนหนึ่งที่มีปัญหาชีวิต เธอขอแค่ใครสักคนที่รับฟัง ทนฟังเรื่องราวก็ดีใจมากแล้ว ซึ่งเธอเคยถูกว่ากล่าวจากคู่สนทนาว่า “เธอเป็นพิษจริง ๆ ทำให้ฉันเครียดตาม” เธอผู้นี้ยิ่งเศร้าใจนัก จากที่พูดคุย บ่อยครั้งที่เราจะพูดว่า ไม่อยากให้คิดแบบนี้เลย กลัวจะเป็นซึมเศร้า ซึ่งทุกครั้งเธอจะตอบว่า “ไม่เป็นหรอก ไม่เคยคิดฆ่าตัวตาย” เราก็ไม่พูดอะไรต่อ แต่แล้ววันหนึ่งเธอมาทวนคำถามที่เราเคยถาม เริ่มกลัวอาการที่เป็นอยู่ เราจึงแนะนำหนังสืออ่าน หรือบทความตามเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ให้ความรู้มากมายเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ตามเพจมีหมอให้คำปรึกษาเบื้องต้น เมื่อเราเจอหนังสือ หรือบทความที่น่าสนใจ คิดว่าจะพอช่วยเธอได้ช่วยก็ส่งให้เธออ่านประจำ ซึ่งโชคดีเธอเป็นคนชอบอ่าน และมีบทความที่เธอบอกน่าสนใจ อ่านแล้วเหมือนง่าย จะลองทำดู ซึ่งบทความเกี่ยวกับแสงแดดและโรคซึมเศร้ามีผู้เขียนบทความไว้หลากหลายทั้งวิชาการ และไม่เป็นวิชาการ จึงขอยกหนึ่งตัวอย่างที่แนะนำ บทความเรื่อง วิตามินดี แสงแดด และอาการซึมเศร้า เขียนโดย รศ.ดร.ภญ.จิรภรณ์ อังวิทยาธร ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Read More