Author: Tanawan Khaowbang

การขอหมายเลข ISBN กรณี e-book

จากการปฏิบัติหน้าที่ให้บริการสารนิเทศ ภารกิจประสานงานขอหมายเลขประจำหนังสือ ISBN จากหอสมุดแห่งชาติ ให้แก่นักศึกษา คณาจารย์และบุคลากร เมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม 2565 ได้รับคำถามจากเจ้าหน้าที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ฯ เกี่ยวกับการขอหมายเลข ISBN กรณีเป็น e-book  ต้องทำอย่างไร ซึ่งยอมรับว่าเป็นครั้งแรกของการขอ ISBN ของ e-book  ดิฉันจึงยังไม่สามารถให้คำแนะนำแก่คณะวิชาได้ หลังจากได้รับคำถาม ดิฉันจึงได้ดำเนินการสอบถามข้อมูลจากงานจดแจ้งการพิมพ์ หอสมุดแห่งชาติ  ถึงวิธีการดำเนินการกรณี e-book ดังกล่าว ซึ่งได้รับข้อมูลดังนี้

Read More

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง@วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม

จากการเดินทางไปท่องเที่ยว ณ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เมื่อประมาณเดือนกรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ดิฉันได้มีโอกาสฟังบรรยายจากคุณวิมล สุขแดง  ซึ่งเป็นประธานกลุ่มท่องเที่ยวชุมชนพระบาทด้วยต้ม ได้รับทราบข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์ ณ วัดพระพุทธบาทห้วยต้มแห่งนี้ว่า  เป็นผลงานสร้างสรรค์ที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือนอีกเช่นเคย คือ ภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังของโบสถ์วัดทั่ว ๆ จะเป็นภาพเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระพุทธศาสนา การประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ภาพวาดนางฟ้า เทวดา ความดี ความชั่ว นรก สวรรค์ เป็นต้น  แต่สำหรับวัดแห่งนี้ ภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังทั้งหมดจะเกี่ยวเนื่องกับหลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา ตั้งแต่เยาว์วัยจนกระทั่งท่านมรณภาพ

Read More

สังฆทาน “ผัก” ที่ชุมชนวัดพระบาทห้วยต้ม

วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม เป็นวัดที่มีพระภิกษุและสามเณรจำนวนมาก พระภิกษุและสามเณรแห่งนี้ นอกจากการศึกษาทางธรรมแล้ว จะมีกิจกรรมต่าง ๆ เหมือนกับฆราวาสซึ่งต้องใช้กำลังแรงกายเป็นอย่างมาก เช่น การทำวัตร การกวาดลานวัด การซ่อมแซมวัด การทำนา การเลี้ยงและให้อาหารวัว/ควาย ที่รับจากโครงการไถ่ชีวิตโคกระบือ เป็นต้น เนื่องจากวัดมีพระภิกษุและสามเณรจำนวนมาก แต่ด้วยวัดแห่งนี้ พระภิกษุสามเณรฉันอาหารมังสวิรัติ ด้วยข้อจำกัดของอาหารมังสวิรัติ ปริมาณอาหารจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ประเพณีการบิณฑบาตรของวัดแห่งนี้ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน โดยจะมีการแบ่งพระภิกษุ/สามเณรออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหนึ่งจะมีการออกบิณฑบาตข้างนอกวัด อีกส่วนหนึ่งจะเป็นการรับบาตร ณ ศาลาวัดพระพุทธบาทห้วยต้มแห่งนี้ นอกจากนี้ ยังมีการใส่บาตรผัก/ผลไม้ เพื่อนำเก็บไว้ให้แม่ครัวของวัดฯ ปรุงอาหารถวายพระภิกษุและสามเณรในวัดต่อไป

Read More

วิถีพุทธในหมู่บ้านห้วยต้ม@วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม

ดิฉันได้มีโอกาสรู้จัก “วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม” จากกลุ่มกัลยาณมิตรบนภูกระดึงโดยบังเอิญ ในระหว่างทางเดินขึ้นภูกระดึง เพื่อน ๆ กลุ่มนี้ กำลังทำงานเกี่ยวกับการถ่ายทำสารคดี ซึ่งในวันนั้นพวกเขาได้มาถ่ายทำเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตลูกหาบ@ภูกระดึง ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การเดินทางกัน  โดยเพื่อนในกลุ่มดังกล่าวได้แนะนำว่า ชอบท่องเที่ยวสไตล์นี้ต้องไม่พลาด หมู่บ้านแห่งหนึ่งที่จังหวัดลำพูน คือ บ้านห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นชุมชนชาวปกาเกอะญอ ทุกคนในชุมชนมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก รับประทานมังสวิรัติ สามารถพักอาศัยกับชาวบ้านที่เปิดเป็นโฮมสเตย์ได้

Read More

ฝรั่งไต้หวัน “เสี่ยวหลงมี่”

ฝรั่งสายพันธุ์ไต้หวัน กลุ่มเกษตรกรในประเทศไทยมีการนำเข้ามาหลายหลายสายพันธุ์มาก โดยเฉพาะฝรั่งไส้แดงไร้เมล็ด เช่น เสี่ยวหลงมี่  เฟ่ยหงส์มี่ แตงโม หงเป่าสือ และอื่น ๆ อีกมากมาย เป็นต้น ซึ่งแต่ละสายพันธุ์มีรสชาติแตกต่างกันไป

Read More

อุปสรรคจากการเรียน/การสอน (ออนไลน์)

ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือ โควิด-19 ในปัจจุบัน ทำให้ผู้คนต้องเว้นระยะห่างทางสังคม  งดการรวมตัว การรวมกลุ่ม การเข้าสังคม เป็นต้น ส่งผลให้วิถีในการดำเนินชีวิตในหลาย ๆ ด้านของผู้คนทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไป เช่น ก่อเกิดการเรียนการสอน การอบรม การประชุม การสัมมนา แบบออนไลน์  การประชุม/อบรม/สัมมนาแบบออนไลน์เหล่านี้  มีแอปพลิเคชันมารองรับมากมาย เช่น Zoom, Microsoft Teams, Cisco Webex, Google Meet เป็นต้น  ในช่วงแรก ๆ ของการใช้วิธีสื่อสารออนไลน์เราก็รู้สึกว่าสะดวกสบาย ไม่ต้องเดินทาง ประหยัดค่าใช้จ่ายมากมาย เช่น ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่ารับรอง เป็นต้น แต่เมื่อจำเป็นต้องสื่อสารออนไลน์เป็นระยะเวลานาน ๆ ก็เริ่มเกิดความเบื่อหน่าย

Read More

ประสบการณ์สอนออนไลน์ “ครั้งแรก”

จากการปฏิบัติงานตามภารกิจ คือ งานบริการสารนิเทศ โดยปกติจะได้รับหน้าที่เป็นผู้ช่วยสอน คือ การให้ความช่วยเหลือนักศึกษาในขณะอบรมปฏิบัติการฯ เช่น การอบรมโปรแกรมการจัดการบรรณานุกรม EndNote เป็นต้น ซึ่งไม่เคยรับหน้าที่เป็นวิทยากรหลักมาก่อน

Read More

กระแสไม้ด่างสร้างยอดวิว “หลักหมื่น”

จากการที่ดิฉันได้เขียนบล็อกมาหลายเรื่องในหลายปีที่ผ่านมา  เมื่อมาตรวจสอบย้อนหลังเพื่อดูว่า มีผู้สนใจอ่านบล็อกของเราสักแค่ไหน ก็พบว่า แต่ละบล็อกมียอดวิวประมาณ หลักสิบ หลักร้อย สูงสุดก็แค่หลักพันเท่านั้น  แต่เมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา ดิฉันได้เขียนบล็อกหลายเรื่องเกี่ยวกับกระแสไม้ด่างในแง่มุมต่าง ๆ เช่น กล้วยด่าง โชคเก้าชั้นด่าง และไม้ด่างอื่น ๆ  เป็นต้น  ข้อมูลจากการเขียนบล็อกเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะเล่าประสบการณ์ตรงจากการปลูกไม้ด่าง  พบว่า มี 1 เรื่อง คือ  “ฝังทรัพย์ไว้ในดิน (กล้วยด่าง)” ได้รับความสนใจและมียอดวิวจากผู้คนที่เข้ามาชมมาอ่านจำนวนหลักหมื่น ( 35,051 view)  ซึ่งไม่เคยมีปรากฎมาก่อนจากการเขียนบล็อกของดิฉัน

Read More