Category: เทคโนโลยีสารสนเทศ

SNC Library Podcast วันนี้ WordPress ก็มา

การก้าวมาสู่ขวบปีที่ 3 ของรายการวิทยุออนไลน์
ที่อิฉันจัดทำ คือ SNC Library Podcast นั้น
จะว่าไป คือ งมๆ งงๆ ทำตามประสา สว.
ที่ยังสนุกสนานที่จะเล่นกับเทคโนโลยี แบบ snake สเนค fish ฟิช

แล้ววันนี้อิฉันก็หมดข้อกังขา กับแอพลิเคชั่น Anchor podcast
และกลับหลงรักนางมากกกกกก ยิ่งขึ้น

Read More

SNC Library Podcast ย่างก้าวขวบปีที่ 3: การแบ่งปันความรู้

สัญญาผูกพัน จากสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ให้ทำ Podcast
ที่บ่องตรง!! วินาทีแรกที่ได้รับโจทย์มา…อย่าง งง!!
อย่าว่าแต่ถามว่ามันคืออะไร
เป็นว่านั่นคือ ครั้งแรก ที่ได้ยินคำเรียกสิ่งนี้

เมื่อได้รับขยายความจากหัวหน้าหอสมุดฯ สนามจันทร์
ว่าเป็นการจัดรายการวิทยุออนไลน์
อิฉัน มิรอช้าดังที่เคยกล่าวไว้เมื่อปีก่อนว่า
การจัดรายการวิทยุนั้น เป็นความชื่นชอบส่วนบุคคล
โดยได้เล่าที่มาของการจัดรายการ Podcast ไว้
เรื่อง SNC Library Podcast script 4 ชั่วโมง เล่าได้ภาพเดียว
ตัวอย่างการเตรียม script รายการดูได้ตามลิงค์บทความ
http://www.snc.lib.su.ac.th/kmblog/?p=4546

Read More

แนะนำช่องเสียบเทอร์มินอลอินพุท/เอาท์พุท จอ Inter Active Touch Screen TV

การใช้งานจอ Inter Active Touch Screen TV มาทำความรู้จักช่องเสียบเทอร์มินอลอินพุท/เอาท์พุท เบื่องต้นกันก่อนว่าช่องเสียบไหนใช้งานอะไรได้บ้าง

  1. PC AUDIO IN คือรับสัญญาณเสียงจากอุปกรณ์ภายนอก
  2. VGA คือรับสัญญาณ RGB แอนะล็อกจากอุปกรณ์ภายนอก
  3. HDMI 1, HDMI 2 คือสัญญาณอินพุทอินเทอร์เฟซมัลติมีเดียความละเอียดสูง เชื่อมต่อกับพีซีกับเอาท์พุท HDMI กล่องรับสัญญาณทีวี หรืออุปกรณ์วีดีโออื่น ๆ
Read More

การบำรุงรักษาเครื่องรับโทรทัศน์

การบำรุงรักษาเครื่องรับโทรทัศน์

     ในเรื่องนี้จะขอพูดถึงการอัพเดทซอฟต์แวร์ของเครื่องรับโทรทัศน์ ที่มีให้บริการอยู่ที่ห้องชมภาพยนตร์ ในศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง จะมีด้วยกันอยู่ 2 ห้อง ซึ่งในการตรวจเช็คบำรุงรักษาเครื่องแต่ละครั้ง นอกจากดูแลเรื่องระบบการทำงาน จุดเชื่อมต่อ ความสะอาด แล้วยังต้องทำการตรวจสอบอัพเดทซอฟต์แวร์ของเครื่องรับโทรทัศน์ เพี่อให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ

     ก่อนจะพูดถึงเรื่องการอัพเดทซอฟต์แวร์นี้ มาทำความรู้จักกับข้อมูลพื้นฐานของเครื่องรับโทรทัศน์ตัวนี้เสียก่อน จากข้อมูลพื้นฐานของเครื่องรับโทรทัศน์ตัวนี้ มีจอภาพขนาด 49 นิ้ว แบบ Widescreen เป็นชนิดจอ LED จอภาพมีความละเอียดระดับ UHD หรือ Ultra HD มีระบบปฏิบัติการเป็นแบบ Android TV

Read More

Google Classroom กับการจัดทำห้องอบรม Information Literacy

หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มีการจัดโปรแกรมอบรมการรู้สารสนเทศ (Information Literacy Programs) เพื่อส่งเสริมทักษะการแสวงหาสารสนเทศ โดยจัดโปรแกรมการอบรมไว้หลายโปรแกรม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ โปรแกรม EndNote การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ การสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดกลาง (WebOPAC) เป็นต้น

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามีการจัดการอบรมทั้งในสถานที่และนอกสถานที่ ทั้งแบบที่หอสมุดฯ มีตารางการอบรม และแบบที่มาจากคำร้องขอของผู้ใช้บริการ แต่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ทำให้หอสมุดฯ ต้องปรับรูปแบบการอบรมการรู้สารสนเทศใหม่เป็นแบบออนไลน์ ทั้งผ่านระบบ Zoom Meeting และ Google Meet ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง

Read More

Tiktok “พี่พร้อม”

การประชาสัมพันธ์กิจกรรมและบริการของหอสมุดฯ ในภาวะปกติ เราก็ทำกันทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ แบบออฟไลน์ทำโดยการประสานงาน ติดต่อกับผู้ใช้บริการโดยตรง และแบบที่เป็นสิ่งพิมพ์ แต่ระหว่างการปิดบริการแบบ walk in ของหอสมุดฯ ทำให้ต้องเพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์แบบออนไลน์ให้มากขึ้น และมีความถึ่มากขึ้นด้วย เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึง เข้าใจ บริการต่าง ๆ ของหอสมุดฯ และมี interaction กับหอสมุดฯ  ช่องทางการประชาสัมพันธ์ออนไลน์ที่เราคุ้นเคยกันอยู่แล้ว ได้แก่

Read More

#Hashtag หอสมุดฯ

ว่ากันด้วยเรื่องของ #Hashtag  คนที่เล่นโซเชียล คงไม่มีใครไม่รู้จัก (#) สัญลักษณ์สี่เหลี่ยม ที่เป็นเหมือนตาราง #  ซึ่งเครื่องหมาย # นี้  หมายถึงคำ หรือชุดคำ หรือตัวอักษรและตัวเลขที่นำหน้าด้วยสัญลักษณ์แฮชหรือที่เรียกว่าตัวเลขหรือแมว (#) ที่ใช้กับแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตบนอินเทอร์เน็ต…เป็นเครื่องมือสื่อสารที่ใช้เป็นหลักในการเผยแพร่ (ข้อความ, วิดีโอ, ไฟล์เสียง, ภาพ, ฯลฯ ) บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ในการจัดระเบียบจำแนกหรือกลุ่มสิ่งพิมพ์ตามหัวข้อหรือเนื้อหา  (https://th.encyclopedia-titanica.com/significado-de-hashtag)

Read More

มาดูหน้าเว็บไซต์เก่า ๆ ของหอสมุดฯ กัน

หลาย ๆ ครั้งเคยคิดว่า เว็บไซต์ตั้งแต่เดิมของหอสมุดฯ ของเรามีหน้าตาเป็นอย่างไร ถึงแม้ว่าโดยส่วนตัวแล้วจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาเว็บไซต์ของหอสมุดฯ มาตั้งแต่แรกเริ่มเลยทีเดียว แต่เมื่อเวลาผ่านมากว่า 20 ปีก็อยากจะรำลึกถึงความหลังขึ้นมาบ้าง

ก่อนจะไปดูหน้าตาเว็บไซต์เก่าหอสมุดฯ ก็ต้องมาทำความรู้จักองค์กรที่เก็บรวบรวมเว็บไซต์ต่าง ๆ ในแต่ละช่วงเวลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ชื่อว่า Internet Archive เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรในรูปแบบห้องสมุดดิจิทัลแบบเข้าถีงได้ฟรี เนื้อหาที่เผยแพร่เป็นเพียงระบุหน้าเว็บที่สำคัญ มีประวัติเว็บต่าง ๆ มากกว่า 25 ปี สามารถเข้าถึงได้ผ่านเว็บไซต์ที่ชื่อ Wayback Machine

Read More