Category: ห้องสมุด/ระบบห้องสมุด

Rally ลอง เล่น แลก เลข ลับ

“วันเปิดเทอมนี้เราจะทำอะไรกันดี”

เป็นคำถามจากหัวหน้าหอสมุดฯ ของเรา เพราะว่าในวันเปิดเทอมวันแรก หอสมุดฯ จะมีการจัดกิจกรรม เปิดบ้าน “พี่พร้อม” by หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ เพื่อต้อนรับน้อง ๆ นักศึกษาปีที่ 1 รวมถึง ปีที่ 2 และ 3 ด้วย เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยจะเปิดให้นักศึกษาเข้ามาเรียนออนไซต์ ตั้งแต่ปิดมหาวิทยาลัยให้เรียนออนไลน์ ตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มาเป็นเวลาหลายปี ซึ่งอาจเป็นครั้งแรกของน้อง ๆ หลายคนที่อยู่ปี 2 และ 3 ที่จะได้มีโอกาสเข้ามาใช้บริการหอสมุด ดังนั้นกิจกรรมในครั้งนี้จึงมีจุดมุ่งหมายที่จะให้น้อง ๆ ได้เข้ามาทำความรู้จักทุกซอกทุกมุมของหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์

Read More

คาร์ล เดอห์ริง สายสัมพันธ์ศิลปวัฒนธรรมไทย-เยอรมนี

“คาร์ล เดอห์ริง สายสัมพันธ์ศิลปวัฒนธรรมไทย-เยอรมนี” เป็นการจัดเสวนาทางวิชาการ และนิทรรศการควบคู่กันไป โดยสำนักหอสมุดกลาง ร่วมกับคณะอักษรศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ และคณะดุริยางคศาสตร์ จัดงานนิทรรศการเรื่อง “คาร์ล เดอห์ริง สายสัมพันธ์ศิลปวัฒนธรรมไทย-เยอรมัน” ในครั้งนี้ขึ้นมา โดยมีพิธีเปิดเมื่อวันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน2565 ในเวลา 13.30 – 16.30 น. ณ หอสมุดวังท่าพระ

 

Read More

ตามอ่าน

น้องจากวันละเล่มแล้วหอสมุดฯ เรายังมี “เที่ยงละบทความ” วันก่อนน้องษรมาคุยว่าเข้าใจคำว่า “มีที่ยืน” คืออะไร ส่วนดิฉันนั้นอิ่มเอาใจ เพราะกำเนิดของ “เที่ยงละบทความ” มีที่มาที่ไปเช่นเดียวกับเรื่องอื่นๆ

ในการอ้างอิงใดๆ สมันก่อนมักอ้างมากจากสองแหล่งใหญ่ๆ คือหนังสือ และบทความจากวารสาร สมัยตอนเรียนหนังสือครูให้จำ keyword ว่า วารสารมักเป็นเรื่องใหม่ๆ ปัจจุบันอะไรๆ ล้วนเป็นดิจิทัล ้วยเหตุผลของการเข้าถึงแบบเมื่อไรก็ได้ แต่พอพลิกไปดูด้านหลังของงานเขียน/วิจัยหรือวิทยานิพนธ์ เราจะลายตาเพราะบางเล่มอ้างมากจากเว็บล้วนๆ แบบไม่พึงพา original ทั้งที่ประเทศเรานี้มี ThaiJo เป็นอาวุธ ดิฉันเปรียบที่นี่เป็นกูเกิ้ลสาขาดรรชนีวารสาร เพราะค้นอะไรก็เจอ

Read More

คณะทำงานข้อมูลท้องถิ่น ห้องสมุดมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค PULINET

ผู้เขียนในฐานะตัวแทนหน่วยงานมีโอกาสเข้าร่วมเป็นคณะทำงานข้อมูลท้องถิ่นมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค PULINET จำไม่ถนัดนักว่าประมาณ พ.ศ. 2550 หรืออาจก่อนนั้นไม่นานนัก เลาๆ เหตุการณ์ ว่าคาบๆ เกี่ยวกับระยะเริ่มต้นของการจัดงานทับแก้ว Book Fair

ที่จำได้เพราะระยะแรกนั้น ยังเป็นมือใหม่การจัดงานแฟร์ สิ่งที่ริขึ้นใหม่นั้น ทีมงานก็ยังเก้ๆ กังๆ ตลอดการเดินทางไปประชุมในครั้งหนึ่ง ด้วยภาวะสุขภาพขณะนั้นยังไม่เอื้อให้เดินทางลำพัง จึงจำเป็นใช้พาหนะส่วนตัวโดยมีคุณสามีเป็นสารถีนำพา โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนเกินเอง ระหว่างการเดินทางนั้น การประสานงานจิปาถะจึงเกิดขึ้นทางโทรศัพท์เกือบตลอดเส้นทาง

Read More

หัวเรื่องประวัติศาสตร์ไทย

 

ตั้งแต่อดีตนั้นในประเทศไทยมีเหตุการณ์สำคัญ ๆ ทางประวัติศาสตร์ เกิดขึ้นมากมายหลากหลายเหตุการณ์ วันนี้จาเลยอยากจะมาแนะนำหัวเรื่องที่ช่วยในการสืบค้นหนังสือจาก Web OPAC ของหอสมุดกันค่ะ ก่อนอื่นจาจะพาไปทำความรู้จักกับหัวเรื่อง หรือ Subject กันก่อนนะคะ ว่า หัวเรื่องนั้นสำคัญยังไง?

 

หัวเรื่อง หรือ Subject คือ คำ หรือวลีที่กำหนดขึ้นแบบ สั้น กระชับ ได้ใจความ และมีความหมายครอบคลุมเนื้อหาของหนังสือแต่ละเล่ม และเป็นสิ่งที่ห้องสมุดแต่ละแห่ง ใช้เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถหาหนังสือ หรือสารสนเทศที่ต้องการได้โดยง่าย

Read More

ห้องสมุดเสียง มหาวิทยาลัยศิลปากร

ห้องสมุดเสียง มหาวิทยาลัยศิลปากร เกิดจากดำริของศาสตราจารย์ หม่อมหลวง ปิ่น มาลากุล ขณะดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดทำโครงการจัดอุปกรณ์โสตทัศนศึกษาของวิทยาลัยทับแก้ว มหาวิทยาลัยศิลปากร ณ พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม ซึ่งท่านเห็นว่าปัจจุบันการศึกษาที่มีคุณภาพต้องพึ่งอุปกรณ์มาก เมื่อได้ดูมาแล้วก็มิใช่ว่าจะรับมาทั้งดุ้น ได้มาคิดดัดแปลงให้เหมาะสมแก่สภาพของประเทศไทยและนักศึกษาไทย อุปกรณ์ที่ต้องการแบ่งได้เป็นสองส่วนคือ Sound Library และ T.V.”

 

sound-03

ในการจัดสร้างห้องสมุดเสียง (Sound Library) ได้มีการตกลงลงนามในสัญญาว่าจ้างบริษัทฟิลิปส์ให้เป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด จนสามารถเปิดใช้งานได้เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2513 พร้อมกับการเปิดคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นับว่าเป็นห้องสมุดเสียงแห่งแรกของประเทศไทย

Read More

ฟังบรรยายพิเศษ

วันที่ 31 มกราคม 2563 ได้ร่วมประชุมกลุ่มวิเคราะห์ และทางกลุ่มฯ ได้จัดการบรรยายพิเศษโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อมร เพชรสม    ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Read More

เคลือบฟิล์มสันหนังสือ

               หนังสือนับว่าเป็นทรัพยากรสารสนเทศที่มีความสำคัญในห้องสมุด หนังสือทุกเล่มมีค่า มีราคาที่แตกต่างกัน แต่มีคุณค่าเท่าเทียมกันทุกเล่ม ห้องสมุดแต่ละแห่งหาวิธีการต่างๆ เพื่อรักษาสภาพของหนังสือให้อยู่คงสภาพเดิมไว้ให้ได้นานที่สุด เช่นเดียวกับห้องสมุดของเราก็หาวิธีรักษาสภาพของหนังสือที่เข้ามาใหม่ทุกเล่ม ทั้งหนังสือที่ซื้อเข้ามา และหนังสือที่ได้รับบริจาค เมื่อนำมาเตรียมตัวเล่มเสร็จแล้ว ก็จะนำตัวเล่มหนังสือมาเย็บสันใหม่ บรรณารักษ์ให้หมวดหมู่เรียบร้อย ก็จะนำตัวเล่มมาทำสันหนังสือ คือ พิมพ์สัน ติดเลขหมู่ที่สันหนังสือ และเคลือบฟิล์มที่เลขหมู่หนังสือเพื่อมิให้ลบเลือน และหลุดหาย ที่แล้วมาเคลือบฟิล์มเฉพาะแลขหมู่หนังสือเท่านั้น แต่หนังสือบางเล่มพอเคลือบฟิล์มเฉพาะเลขหมู่แล้วมักจะหลุดหายและสันที่ไม่ถูกเคลือบฟิล์มชำรุดเร็วกว่าทีควรจะเป็นจึงมีการเปลี่ยนวิธีเคลือบฟิล์มใหม่  แบบนี้ค่ะ

เคลือบฟิล์มสันหนังสือแบบเดิม

Read More