Category: การพัฒนาตนเอง/บุคลากร

การคิดเชิงออกแบบเพื่อการเรียนรู้แบบไร้ขอบเขต (Design Thinking IdeaJam Workshop)

ในช่วงสถานการณ์ โควิด 19 สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ CEA ภายใต้ความร่วมมือในโครงการ miniTCDC LINK ได้จัดการอบรมเวิร์กชอปแบบออนไลน์ ผ่านระบบโปรแกรม Zoom เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร ทุกวิทยาเขต ที่สนใจด้านการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ร่วมเรียนรู้แนวคิด ระดมสมองต่อยอดจินตนาการ และไอเดียสุดสร้างสรรค์ ผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) โดยทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ โดยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา

Read More

ประสบการณ์ครั้งแรกกับเบื้องหลังการจัดสัมมนาออนไลน์

ในครั้งแรกที่ดิฉันได้รับมอบหมายในการเขียนโครงการสัมมนาฯ  เนื่องจากสถานการณ์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 นี้ ทางมหาวิทยาลัยฯ มีการเรียนการสอนแบบออนไลน์ 100 % และบุคลากรมีการทำงานแบบ Work from Home การจัดสัมมนาจึงต้องจัดในรูปแบบ “การสัมมนาออนไลน์” ทุกส่วนงานและการประสานงานแทบไม่ได้พบปะหน้ากัน เกือบทุกขั้นตอนจึงเป็นการทำงานแบบสื่อสารผ่านเครื่องมือสื่อสาร ผ่านสื่อโซเชียลต่าง ๆ เช่น ไลน์ อีเมล เฟสบุ๊ค เป็นต้น  ซึ่งดิฉันได้รับมอบหมายในการเป็นเลขาโครงการฯ ยอมรับว่ายังไม่เคยมีประสบการณ์จัดสัมมนาออนไลน์มาก่อน รู้สึกกังวลและตื่นเต้นเป็นอย่างมาก เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ผ่านพ้นและบรรลุตามวัตถุประสงค์ด้วยดี จึงอยากนำประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งพอจะสรุปขั้นตอนในการดำเนินการได้ ดังนี้

Read More

อย่ารอให้ชรา

หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ได้จัดกิจกรรมให้แก่ผู้สูงอายุในชุมชน
เพื่อเตรียมความพร้อมของชุมชนในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ผลผลิตของกิจกรรมหนึ่งที่ยังคงอยู่ คือ กลุ่มไลน์ Smart Aging
ซึ่งพี่ๆ หลายท่านยังคงอยู่กันอย่างอบอุ่นหากนับถึงปีปัจจุบัน ร่วม 3 ปี  ล่วงมาแล้ว
ในกลุ่มไลน์นี้ นอกจากพี่ๆ จะเข้ามาทักทาย พูดคุย ส่งข่าว ข้อมูลต่างๆ แล้ว
ทางหอสมุดฯ ก็ใช้ช่องทางนี้เป็นการสื่อสารกับสมาชิกในกลุ่มด้วย

 

Read More

เอ๊ะ!!

ในชีวิตของการทำงาน อาการคิดยังไงก็คิดไม่ออกนี้มักเกิดขึ้นเสมอมากบ้างน้อยบ้าง ในฐานะที่ต้องทำหน้าที่ดูแลก็จะบอกบ้าง บ่นบ้าง แนะบ้างแล้วแต่อารมณ์เช่นกัน หากจับใจความได้ก็วน ๆ อยู่ที่ต้องอ่านแยะ ๆ ฟังเยอะ ๆ และก็จะมีปัญหาอีกคือเรื่องของเวลา เรื่องนี้ก็จะตกอยู่ที่ทุกคนในโลกใบนี้มีเวลาเท่ากัน หากตราบใดที่คุณอยู่ใน “Time Zone” เดียวกัน

อ่านถึงตรงนี้เราอาจผ่านคำว่า Time Zone ไป เพราะพอจะคาดเดาว่าหมายถึงอะไร? โดยไม่ “เอ๊ะ” หรือไม่ “เอ๊ะ” ว่าจริง ๆ แล้วคืออะไร แล้วก็ปล่อยให้ผ่านไป ผลคือเท่าเดิมคือ “พอจะคาดเดาว่าหมายถึงอะไร?”

Read More

เว้นวรรค

การเว้นวรรคในการเขียนหนังสือไทย เป็นลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของภาษาไทยเนื่องจากว่าภาษาไทยไม่ใช้เครื่องหมายวรรคตอนในการแบ่งความอย่างในภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาอังกฤษหรือภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น แต่เราจะใช้การเว้นวรรคในการแบ่งความแทน ซึ่งหลักเกณฑ์การเว้นวรรคตอนนี้ไม่ได้มีการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบในการศึกษาขั้นพื้นฐาน (K1-12) รวมถึงหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาไทยสําหรับชาวต่างชาติ แต่จะเป็นการเรียนรู้ในทางอ้อม เช่น จากการเรียนเขียนเรียงความ เขียนรายงานหรือการอ่านบทความ เป็นต้น การสอนการเว้นวรรคในชั้นเรียนจะสอนในระดับมหาวิทยาลัยให้กับนักศึกษาในสาขาวิชาเอกและโทภาษาไทยเท่านั้น (ลิดา งามวิโรจน์กิจ และสุดาพร ลักษณียนาวิน, 2556: 22)
Read More

content นิทานหนังสือ

ปัจจุบันหนังสือที่วางจำหน่าย มีหนังสือที่เขียนเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ เช่น แพทย์ แอร์โฮสเตส นางแบบ เป็นต้น แต่ละอาชีพ มีการทำงานที่แตกต่างกัน ดิฉันชอบอ่านเพราะอยากรู้ว่าแต่ละอาชีพเขาทำงานกันอย่างไร  ทำให้ให้เราได้รู้เบื้องหน้า เบื้องหลังของอาชีพอื่น ๆ มากขึ้น พออ่านมาก ๆ เข้า ก็คิดว่าทำไมถึงไม่เขียนงานของเราบ้างล่ะ (ซึ่งก็ได้แต่คิดในใจ)

Read More

อ่านอะไร

เมื่อเรียนเพื่อเป็นบรรณารักษ์  และทำงานในห้องสมุด ผู้คนจะคิดว่าเรารักการอ่าน แต่ความจริงแล้วอาจหาเป็นเช่นนั้นไม่

สำหรับพี่การอ่านเป็นนิสัย เพราะสมัยก่อนไม่มีอะไรจะทำ และยังเป็นเรื่องที่ต้องทำ เพราะมีหน้าที่ต้องอ่านหนังสือให้อาม่า (ย่า) ฟังก่อนนอนทุกคืน ถามว่าเบื่อมั้ย ก็เบื่อบ้างไม่เบื่อบ้าง เพราะใจอยากไปดูมังกรหยกจะแย่ และสมัยนั้นไม่มี เฟสบุค ทวิตเตอร์ ไลน์ อินสตราแกรม ฯลฯ จึงว่างแหละ  ต้องขอบคุณบรรพบุรุษจริง ๆ ที่มีหนังสือให้เราอ่านทุกวัน จนทำให้เราติด ถึงขนาดแบบอ่านด้วยการปิดไฟแล้วจุดตะเกียง พอสัปหงกผมไหม้ไปเป็นแถบ จนแม่ต้องสั่งห้ามว่าอย่าทำแบบนั้น อยากอ่านก็อ่านไป แฮ่…

Read More

ก็ต้องลงมือสินะ

ช่องทางการประชาสัมพันธ์ของหอสมุดเรา นอกจากจะมีข่าวสารแล้ว ยังมีการเขียนเรื่องราวต่าง ๆ ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ การเขียนของพวกเรายังคงเขียนแบบชั้น ๆ ที่คัดลอกหรือเรียบเรียงจากหนังสือ วารสาร และอื่น ๆ แล้วอ้างอิง ซึ่งปัจจุบันการเขียนแบบนี้เรียกกันว่า “ขนมชั้น”  โดยร้อยทั้งร้อยหากนำไปตรวจสอบ ก็คือ ซ้ำทั้งร้อย ซึ่งยอมรับไม่ได้ ต้องนำกลับมาพินิจพิเคราะห์แล้วเรียบเรียงขึ้นใหม่จนเนียน ซึ่งดิฉันเรียกว่า เขียนแบบขนมเปียกปูน จนระบบที่เข้าตรวจสอบไม่สามารถแยกได้ อย่างไรก็ตามยังมีงานวิจัยบางอย่างที่ต้องเขียน ต้องอ้างอิงข้อความออกมา ที่เห็นบ่อย ๆ  ในสาขาประวัติศาสตร์ หรือ ภาษาไทย เป็นต้น และนี่คือความยากของการเขียนผลงานวิชาการ

Read More