Author: Karuna Sricharoen

เสน่ห์ของการเขียนพู่กันจีน

การเขียนพู่กันจีน นับเป็นศิลปะชนิดหนึ่งที่มีเสน่ห์ในความรู้สึกของดิฉันมีการใช้เส้นสายและจังหวะในการเขียนที่น่าสนใจ ซึ่งดิฉันห่างหายกับการเขียนไปนานพอสมควร จึงหันกลับมาลองเขียนอีกครั้ง โดยหาอุปกรณ์สำหรับการเขียนพู่กันจีน ประกอบไปด้วย พู่กัน น้ำหมึก กระดาษที่วางพู่กัน สามารถหาซื้อได้จากเว็บไซต์ เมื่อได้อุปกรณ์มาแล้ว จึงลองเขียนดู เทคนิคการเขียนเริ่มตั้งแต่การจับพู่กัน โดยวางนิ้วหัวแม่มือของคุณไปทางด้านซ้ายของพู่กันจีน นิ้วชี้และนิ้วกลางอยู่ทางด้านขวา การทำเช่นนี้ทำให้จับพู่กันได้มั่นคงโดยสามนิ้วนี้เป็นนิ้วหลัก ส่วนนิ้วนางและนิ้วก้อยอยู่ด้านล่าง ช่วยในการประคองพู่กัน การจับพู่กันจับช่วงกลางด้าม ทำให้ด้ามพู่กันอยู่ในแนวตั้งกับกระดาษ

ท่านั่งก็มีส่วนสำคัญไม่แพ้การจับพู่กัน นั่งหลังตรงซึ่งจะช่วยให้เขียนได้สบาย หากเรานั่งก้มหรือโน้มตัวจะทำให้เราเมื่อยล้าได้ง่าย

Read More

การอบรมการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์แก่นักศึกษาชาวต่างชาติ

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 17.00-19.00 น.  ได้มีการจัดอบรมการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ แก่นักศึกษาระดับปริญญาเอก ของสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ซึ่งเป็นนักศึกษาชาวจีน อบรมด้วยระบบออนไลน์ผ่าน Zoom meeting เนื่องจากนักศึกษาส่วนใหญ่อยู่ประเทศจีน วิทยากรที่อบรม คือ คุณพัชรี ส่วนคุณธนวรรณและดิฉันเป็นผู้ช่วย การอบรมฐานข้อมูลครั้งนี้เราสื่อสารด้วยภาษาไทย เพราะมีนักศึกษาที่เข้าใจภาษาไทยเป็นล่ามถ่ายทอดขั้นตอน สอบถามแทนและอธิบายคำตอบของวิทยากรแทนได้  ฐานข้อมูลออนไลน์ที่แนะนำ ได้แก่ฐานข้อมูล Academic Search Ultimate   ฐานข้อมูล PQDP Open ฐานข้อมูล EBSCO Open Dissertations และ EDS One Search  โดยวิทยากรอธิบายวิธีการสืบค้น การจำกัดผลการสืบค้น และการอ้างอิงโดยใช้ เครื่องมือของฐานข้อมูลออนไลน์ที่ทำได้ง่ายมาก  รวมทั้งการใช้เครื่องมือแปลภาษาจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาจีนของฐานข้อมูลทำให้นักศึกษาตื่นเต้นที่มีภาษาจีนให้อ่าน นอกจากนี้นักศึกษาที่อยู่ต่างประเทศหรืออยู่นอกเครือข่ายมหาวิทยาลัยศิลปากรยังสามารถเข้าถึงเอกสารฉบับเต็มได้ผ่านระบบ OpenAthens ได้ง่ายอีกด้วย

Read More

พาแม่นั่งรถไฟล่องใต้…สงขลา

ในช่วงเดือนธันวาคม มีวันหยุดติดต่อกันหลายวันเหมาะแก่การไปเที่ยว ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ช่วงวันหยุดเช่นนี้วางแผนเที่ยว ปีนี้ไม่ได้วางแผนไปเที่ยวที่ไหน แต่ก็มีเหตุให้ต้องเดินทางไกลลงใต้ ไปส่งน้องซึ่งทำงานที่จังหวัดสงขลา

 

การเดินทางครั้งนี้ไปแบบกระชั้นชิด มีเวลาให้เตรียมตัวน้อยมาก ตอนแรกคิดไว้ว่าจะไปกันอย่างไรดี จะเอารถที่บ้านไปเอง หรือจะเช่ารถไป ด้วยทางบ้านมีภาระงานจำนวนมาก และช่วงนี้ภาคใต้เป็นช่วงฤดูฝน จึงตกลงกันว่าจะเดินทางโดยรถไฟ ไปกันสามคน แม่ ดิฉัน และน้อง จำได้ว่า ครั้งแรกที่นั่งรถไฟไปนครศรีธรรมราช ตอนนั้นไปด้วยกัน 3 คน คือ พ่อ แม่ และดิฉัน ลองนับเวลาดู โอ้โห ประมาณสิบปีได้ ภาพความทรงจำในครั้งนั้นได้เลื่อนลางไปบ้าง ซึ่งปีนี้เหมือนพาแม่มารำลึกอีกครั้ง

Read More

กวนข้าวตอก….สารทลาว

ประเพณีบุญเดือนสิบ หรือ สารทลาว เรียกอีกชื่อว่า ประเพณีแก้ห่อข้าว เป็นประเพณีที่สำคัญของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง หมู่ 2 ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม มีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ช่วงแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ชาวลาวเวียงจะเตรียมอาหารคาวหวาน 2 ชุด ชุดแรกนำไปถวายพระที่วัด เมื่อถวายพระแล้วชุดที่สองจะนำไปไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วซึ่งชาวบ้านมักเรียกว่า เลี้ยงผี แต่ชาวลาวเวียงเรียกว่า ไปแก้ห่อข้าว หมายถึงการแกะห่อข้าวให้บรรพบุรุษกิน โดยนำอาหารคาวหวาน ผลไม้ ใส่ใบตอง หมากพลู 1 ชุด  จุดธูปหนึ่งดอกบอกกล่าวบรรพบุรุษ อาหารที่นำมาไหว้ขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์ของแต่ละครอบครัว มิได้ระบุเฉพาะเจาะจงว่าเป็นสิ่งใด ของหวานที่นิยมนำมาทำบุญถวายพระและไหว้บรรพบุรุษ คือ “ข้าวตอก” หรือที่ชาวไทยเรียกว่า “กระยาสารท”

Read More

อ่านออกเสียง นิทานล้านบรรทัด

ที่เห็นในรูปนี้ เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์จัดขึ้นในงาน “ทับแก้ววิชาการ ประจำปี 2565” ระหว่างวันที่ 30-31 สิงหาคม 2565 กิจกรรมนี้มีชื่อว่า อ่านออกเสียง เปล่งสำเนียง กับนิทานล้านบรรทัด เป็นการฝึกอ่านภาษาไทย โดยเลือกเนื้อหาจากหนังสือ นิทานล้านบรรทัด แต่งโดย ประภาส ชลศรานนท์ ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ประเภทดนตรีสากล และนาฏศิลป์สากล เตรียมมาเพื่อให้น้อง ๆ นักเรียนที่มาร่วมงานได้ทดสอบความสามารถกัน แวบแรกที่ดิฉันเห็นก็ตะลึง ทึ่งไปกับข้อความที่ได้เห็น ภาษาไทยที่ไม่มีวรรณยุกต์กำกับเลย เรามักจะเคยชินกับการมีวรรณยุกต์และสระกำกับและที่ยิ่งไปกว่านั้นคือไม่มีเว้นวรรค แอบคิดในใจเราจะอ่านรอดไหม😂 ต้องรอดสิมาช่วยพี่ ๆ ดูแลกิจกรรมนี้

Read More

การเตรียมกิจกรรมในงาน “ทับแก้ววิชาการ ประจำปี 2565”

งานทับแก้ววิชาการ ประจำปี 2565 ในครั้งนี้ หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ได้เข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัยเสมอมา โดยในปีนี้เพื่อให้เข้ากับธีมของมหาวิทยาลัยศิลปากร จึงมีการร่วมกันคิดว่าจะจัดกิจกรรมอะไรบ้าง และได้ข้อสรุปว่าจะจัดงานในชื่อ “เรียน” และ “รู้”

หลังจากที่คิดหัวข้อกันเรียบร้อยแล้ว เริ่มเตรียมหาทรัพยากรที่จะนำไปแสดง ในส่วนของงานจัดการทรัพยากรสารสนเทศ  เริ่มตั้งแต่การหาแบบเรียนที่ใช้ในยุคก่อนเพื่อนำมาจัดนิทรรศการ ซึ่งหอสมุดฯ จัดเก็บไว้เป็นจำนวนมาก มีหลายชื่อ หลายเล่ม จัดพิมพ์และเผยแพร่ในปีที่ดิฉันยังไม่เกิดเลยด้วยซ้ำไป แต่ละเล่มน่าอ่านน่าสนใจ เช่น ดรุณศึกษา ตำราเรียนภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษา แต่งโดย บาทหลวงคาทอลิกชาวฝรั่งเศส ชื่อ ฟ. ฮีแลร์ นิทานร้อยบรรทัด โดยกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น หลังจากที่คัดเลือกมาพอสมควรแล้ว เตรียมนำไปจัดนิทรรศการ ณ โถงนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารหอสมุดฯ

Read More

คอนเทนต์เจ้าชายน้อย

ได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมโครงการ Digital Content จัดโดยสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร ก็มาสู่การเริ่มลงมือเขียน ในใจคิดว่าจะเขียนคอนเทนต์เรื่องอะไรดี ก่อนหน้านั้นพี่ปองหยิบเจ้าชายน้อยภาษาถิ่นมาให้ดูเรื่องนี้น่าสนใจนะ จึงทำเรื่องนี้ อันดับแรกไปหยิบเจ้าชายน้อยมาอ่านก่อนว่าเนื้อเรื่องเป็นอย่างไร ทำไมถึงเป็นวรรณกรรมคลาสิกที่หลายคนต่างหลงรักเจ้าชายน้อยและเก็บสะสมกันเป็นจำนวนมาก หลังจากอ่านตัวเล่มจบ เข้าใจเรื่องราวของเจ้าชายน้อยแล้ว จากนั้นลองค้นจากอินเทอร์เน็ตว่ามีคนเขียนถึงเจ้าชายน้อยภาษาถิ่น โดยคุณสุพจน์ โล่ห์คุณสมบัติ ผู้คิดและจัดทำเจ้าชายน้อยภาษาถิ่นขนาดไหน โอ้โห มีคนเขียนเยอะมาก เราต้องเขียนในมุมที่ต่างจากที่มีอยู่ จากนั้นคิดคำถามที่จะเตรียมสัมภาษณ์และนัดวันเวลากับคุณสุพจน์ โดยใช้หอสมุดวังท่าพระ กรุงเทพฯ เป็นสถานที่นัดคุยและเก็บภาพ

Read More

ไปทำความรู้จักน้องอักษร

วันที่ 29 มิถุนายน 2565 เราจะไปปฐมนิเทศ น้องนักศึกษาชั้นปี 1 คณะอักษรกันนะ เป็นเสียงที่ได้ยินจากหัวหน้าหอสมุดฯ ให้พวกเราไปปฐมนิเทศ ทำความรู้จักกับน้อง ๆ ในเบื้องต้นวางเราโปรแกรมไว้ว่า จะมีในส่วนแนะนำห้องสมุดและให้น้อง ๆ ได้ร่วมสนุกกับกิจกรรม ตลอด 1 ชั่วโมงของการพรีเซนต์นี้ให้เราออกแบบได้เต็มที่ว่าจะบริหารจัดการระหว่างสาระความรู้และกิจกรรมกันอย่างไร ในส่วนที่ดิฉันรับผิดชอบ คือ การแนะนำห้องสมุด และน้อง ๆ ในทีมจะดูแลเรื่องกิจกรรม

Read More