Author: Narumon Boonyanit

ส่วย-รัชชูปการ ถึง ส่วยสติกเกอร์

ส่วย มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ หน้า ๑๑๔๓ หมายถึง ของที่เรียกเก็บจากพื้นเมืองส่งเป็นภาคหลวง ตามวิธีเรียกเก็บภาษีอากรในสมัยโบราณ และยังหมายถึง เงินช่วยราชการตามที่กำหนดเรียกเก็บจากราษฎรชายที่ไม่ได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล ที่เรียกว่า รัชชูปการ

Read More

เฉลวความลับของหมอยาไทย

เฉลว ออกเสียงว่า ฉะ-เหลว พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒  หน้า ๓๓๙ อธิบายว่าเป็นคำนาม หมายถึง “เครื่องจักสานชนิดหนึ่ง ทําด้วยตอกหักขัดกันเป็นมุม ๆ ตั้งแต่ ๕ มุมขึ้นไป สําหรับปักหม้อยา ปักเป็นเครื่องหมายที่สิ่งของซึ่งจะขาย ปักบอกเขต หรือปักบอกเขตด่านเสียค่าขนอน, ฉลิว หรือ ตาเหลว ก็ว่า”

Read More

เมื่อใบเซอร์ฯ หมดอายุ

คอมฯ ที่ทำงานปกติต้องเข้าระบบเครือข่ายเพื่อทำงานทุกเช้า เช้านี้เข้ายังง๊ายย ยังงาย กี่รอบ ๆ นางก็บอกว่า Invalid user name or password หรือเราจะลืมสลับภาษา อ้าว…สลับ ๆๆ ตั้งอก ตั้งใจพิมพ์ user name และ password ใหม่ เผื่อตอนแรกนิ้วติดจิ้มผิดจิ้มถูก

Read More

พระตำหนักสวนนันทอุทยาน ที่นครปฐม

รัชกาลที่ 6 ครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ทรงมีพระราชกรณียกิจสำคัญที่ทรงรับมอบหมายจากพระราชบิดา รัชกาลที่ 5
สืบเนื่องต่อมาจากพระอัยกา คือ รัชกาลที่ 6
ในการบูรณะพระปฐมเจดีย์ จึงเป็นเหตุ
ให้พระองค์ทรงผูกพันกับ
พระมหาเจดีย์นี้และเมืองนครปฐม
อย่างยิ่ง ดังเป็นที่ประจักษ์ว่าพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังสนามจันทร์ขึ้น และทรงโปรดที่จะแปรพระราชฐานมาประทับอยู่เนือง ๆ ตลอดรัชสมัย

วังแห่งนี้นับว่ามีบทบาทสำคัญทั้งในฐานะวังแห่งเมืองหลวงสำรองที่สอง และกองบัญชาการสำคัญ
ในการฝึกและซ้อมรบเสือป่าในทุก ๆ ปี นอกจากพระราชฐานที่ประทับยังทรงมีรับสั่งให้บรรจุพระบรมราชสรีรางคารที่ใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ อันอาจกล่าวได้ว่าพระองค์ทรงผูกพันธ์ในเมืองนครปฐมที่ทรง…ไฝ่ใจในองค์พระนั้นมาก…แม้สิ้นพระชนม์ก็ยังมีพระประสงค์สุดท้ายที่เมืองแห่งนี้

Read More

ปู๊น ปู๊น เรื่องเล่าไม้หมอน จากฟิล์มหนังสู่หนังสือ

รถไฟเป็นพาหนะที่เกี่ยวข้องกับชีวิตผู้คนในหลากมิติ
ภาพจำของคนไทยกับรถไฟในแต่ละยุคสมัย และช่วงวัยอาจมีความต่าง คนรุ่นปู่ย่าที่การไปมาระหว่างถิ่นยังไม่สะดวก ชีวิตที่ยังไม่รีบร้อนเร่งเร้า
ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง อาจนึกถึงรถจักรไอน้ำ รถจักรดีเซล
หากแต่คนยุคปัจจุบันในวิถีที่จำรีบเร่งแข่งกับเวลา
รถไฟความเร็วสูงที่อาจเป็นรองเพียงเครื่องบินจึงถูกแทนที่

ภาพจำรถไฟอาจเปลี่ยนตามสังคม ยุคสมัย และถูกถ่ายทอดในต่างรูปแบบของเรื่องเล่า
เรื่องราวของ “รถไฟสายภาพยนตร์” บทแนะนำหนังสือ 2 เล่ม ในห้องสมุดและโสตทัศนสถาน เชิด ทรงศรี บอกเล่าสังเขปความสัมพันธ์ของรถไฟบนแผ่นฟิล์ม ขณะที่หนังคลาสสิกต่างประเทศบางเรื่องราวสะท้อนประวัติศาสตร์การรถไฟในบริบทของภาพยนตร์ ในมิติของการเคลื่อนพาผู้โดยสารไปยังสถานที่ต่าง ๆ
ทับซ้อนด้วยเรื่องราวของชนชั้น เพศ และอื่นๆ

Read More

คาร์ล เดอห์ริง (Karl Döhring) สถาปนิกราชสำนักสยาม 2 แผ่นดิน

คาร์ล เดอห์ริง (Karl Döhring) สถาปนิกชาวเยอรมัน
เข้ามารับราชการในราชสำนักสยามถึง 2 แผ่นดิน
แม้เขาจะอยู่ในเมืองไทยเพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 7 ปี
ระหว่าง พ.ศ. 2449 – 2556 ในช่วงปลายรัชสมัยของ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
จนถึงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
เขาก็ได้ฝากผลงานสถาปัตยกรรมที่สำคัญไว้ให้กับแผ่นดินสยามหลายแห่ง
อาทิ

Read More

Midnight Library


Midnight Library
ช่วงเวลาพิเศษที่พี่พร้อมหอสมุดพระราชวังสนามจันทร์
จัดบริการ ให้น้อง ๆ และชาวศิลปากรได้มาอ่านกันยาวๆ จนเที่ยงคืน
สำหรับเทอมนี้ก็จบลงแล้วนะคะ
นำภาพบรรยากาศน่ารัก ประทับใจ ของน้อง ๆ ที่ต่างตั้งอกตั้งใจ
มา…อ่านเดี่ยว อ่านเป็นหมู่คณะ
กระทั่งตั้งตนเป็นติวเตอร์แบ่งปันความรู้
ช่วยเหลือเพื่อนๆ ให้ก้าวเดินไปพร้อมๆ กัน มาฝากชาวทับแก้ว

Read More

จากฝึกหัดครู…สู่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


การศึกษาของไทยเริ่มต้นจากวัดและวัง โอกาสในการศึกษาจำกัดเพียงเด็กชาย ต่อมาเมื่อมีการขยายการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่ประชาชนทั่วไปโดยมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันทั้งเด็กหญิงและชาย ความต้องการกำลังครูจำนวนมากทำให้เกิดสถาบันการฝึกหัดครูอย่างเป็นระบบนับแต่ พ.ศ. 2435 โดยการฝึกหัดครูเริ่มขึ้นจากส่วนกลางในพระนคร แล้วจึงขยายไปตามหัวเมืองมณฑลต่าง ๆ สำหรับมณฑลนครชัยศรี เริ่มต้นจากโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูนครปฐม เมื่อ พ.ศ. 2479 ใช้ตึกหอทะเบียนมณฑลนครชัยศรี ซึ่งตั้งอยู่บริเวณถนนเทศาทำการเรียนการสอน รับเฉพาะนักเรียนหญิง ต่อมาเปิดรับนักเรียนชายเข้ามาเรียนร่วมใน พ.ศ. 2503 และเปลี่ยนเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูนครปฐม ใน พ.ศ. 2511 กระทั่ง พ.ศ. 2512 ได้ย้ายสถานที่จากถนนเทศา ไปตั้งตรงข้ามวัดใหม่ปิ่นเกลียว ถนนมาลัยแมน จากนั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยครูนครปฐมเมื่อ พ.ศ. 2513 และเมื่อวิทยาลัยครูทั่วประเทศได้รับพระราชทานนามจากรัชกาลที่ 9 ว่า “สถาบันราชภัฏ” ในพ.ศ. 2535 จึงเรียกขานนามตามนั้น ขณะที่การเรียนการสอนก็มีการขยายทั้งขึ้นบนและลงล่าง และขยายสาขาวิชาอื่น ๆ เพิ่มเติม จากการผลิตครูชั้นฝึกหัดครูประชาบาล เป็นการศึกษาระดับปริญญาตรี ทั้งยังเปิดให้มีการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป.) ระดับปริญญาตรี และอนุปริญญา รวมถึงเปิดโรงเรียนสาธิต ชั้นมัธยมปีที่ 1 และโรงเรียนสาธิตอนุบาล อันเป็นการพัฒนาจากยุควิทยาลัยครูสู่ยุคสถาบันราชภัฏ และปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏตาม พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม นับแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา ความเป็นมาของสถาบันแม่พิมพ์ของชาติที่นครปฐมในยุคเริ่มแรกได้รับการวางรากฐานอย่างมั่นคงด้วย “ครู” ผู้เปี่ยมด้วยจิตวิญญาณ นำการพัฒนาอย่างมิรู้เหน็ดเหนื่อย ปลูกฝังสามัคคี ร่วมแรง อุทิศตนเป็นอย่างยิ่ง เชิญรับฟังเรื่องราวอันเป็นจิตวิญญาณของชาวเฟื่องฟ้าเพิ่มเติม ได้ในรายการ SNC Library Podcast ตอน  จากโรงเรียนฝึกหัดครูนครปฐม สู่มหาวิทยาลัยราชภัฏ อันดับ 2 ของประเทศ: SNC Library Podcast S3 Eps.118

Read More