การคิดเชิงออกแบบเพื่อการเรียนรู้แบบไร้ขอบเขต (Design Thinking IdeaJam Workshop)

ในช่วงสถานการณ์ โควิด 19 สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ CEA ภายใต้ความร่วมมือในโครงการ miniTCDC LINK ได้จัดการอบรมเวิร์กชอปแบบออนไลน์ ผ่านระบบโปรแกรม Zoom เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร ทุกวิทยาเขต ที่สนใจด้านการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ร่วมเรียนรู้แนวคิด ระดมสมองต่อยอดจินตนาการ และไอเดียสุดสร้างสรรค์ ผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) โดยทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ โดยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา

ขอขอบคุณวิทยากรทั้ง 2 ท่านซึ่งมาให้ความรู้ในครั้งนี้ คือ คุณฐิติญาณ สนธิเกษตริน นักพัฒนาธุรกิจและผู้ร่วมก่อตั้ง And Anything Else Co.,Ltd. และคุณปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข นักพัฒนาธุรกิจ

กระบวนการคิดเชิงออกแบบนะครับมันจะเกิดผลได้ก็ต่อเมื่อลงมือทำ เพราะฉะนั้นการลงมือทำรูปแบบของมันก็คือการ workshop การร่วมมือกันการ discussions จะต้องมีการทำงานเป็นกลุ่มแล้วก็หัวใจหลักของ Design Thinking หนึ่งอย่างก็คืองานของเรา การทำงานการ workshop ร่วมกันของคนที่มี background ที่แตกต่างกันเราจะไม่สามารถใช้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ วิทยากรให้แบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม  มีโจทย์มาให้คือมีภาพคนนั่งอยู่ในห้อง นักศึกษาก็จะมองเป็นการเรียนออนไลน์ ส่วนเจ้าหน้าที่ก็จะมองเป็นการทำงานที่บ้าน ให้คิดว่าต้องการใส่ Idea อะไรลงไปในห้องนั้น อยากให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก หรือจัดมุมอุปกรณ์ให้สวยงาม ช่วยกันคิด ช่วยเสนอเป็นขั้นตอน แล้วก็มาสรุปในตอนท้ายการอบรม

จากการอบรมในครั้งนี้ได้รู้ถึงความเข้าใจทั้งวิธีคิดและความต้องการของผู้ใช้บริการ จนนำไปสู่การมองเห็นมุมมองใหม่ ๆ ที่แตกต่างออกไปจากเดิม ยังเป็นตัวช่วยที่จะทำให้ได้รับรู้ถึงวิธีคิดที่เน้นถึงกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก เพื่อสร้างความมั่นใจ ในการค้นพบวิธีการแก้ปัญหา เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ